Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 118 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 118 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 118” คืออะไร? 


“มาตรา 118” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 118 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา ๑๖๗๖ ให้บุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดตั้งมูลนิธิตามมาตรา ๑๖๗๗ วรรคหนึ่ง ดำเนินการตามมาตรา ๑๑๔ และตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้
              ถ้าบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดตั้งมูลนิธิตามวรรคหนึ่ง มิได้ขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวได้รู้หรือควรรู้ข้อกำหนดพินัยกรรมให้ก่อตั้งมูลนิธิ บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนมูลนิธิก็ได้
              ถ้าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา ๑๑๕ จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนมูลนิธิเพราะเหตุดังกล่าว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนมูลนิธินั้นอีกก็ได้
              ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรานี้ จะขอถอนการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา ๑๑๖ ไม่ได้
              ในกรณีที่มีผู้คัดค้านต่อนายทะเบียนว่าพินัยกรรมนั้นมิได้กำหนดให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิ ให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้คัดค้านไปร้องต่อศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาการจดทะเบียนไว้ก่อน เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ถ้าผู้คัดค้านไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนพิจารณาการจดทะเบียนมูลนิธินั้นต่อไป “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 118” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 118 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2546สำเนาคำแถลงและหน้าสำนวนเป็นเอกสารที่ถ่ายจากต้นฉบับในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อน เป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้โจทก์ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 วรรคสาม (1) จึงไม่ต้องห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดี
จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยแต่ในสารบัญจดทะเบียนระบุว่าเป็นการให้เพราะไม่ต้องการเสียภาษีมาก เท่ากับกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมยกให้อำพรางนิติกรรมซื้อขาย นิติกรรมยกให้จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคหนึ่ง เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่) และต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคสอง เดิม (มาตรา 155 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) เมื่อสัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารสารบัญจดทะเบียนตามสำเนาโฉนดที่ดินและตามสำเนาหนังสือสัญญาให้ที่ดินไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 118 วรรคสอง (เดิม), ม. 453, ม. 521
ป.วิ.พ. ม. 90 (1), ม. 94


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545
โจทก์และจำเลยมีเจตนาทำสัญญากู้ยืมเงินกันโดยจำเลยนำโฉนดที่ดินมาวางเป็นหลักประกันตั้งแต่ต้น มิได้มีเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากที่ดินและบ้านพิพาท สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคหนึ่ง (มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่) ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรคสอง (มาตรา 155 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่) โดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น แต่จำเลยยังชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ไม่ครบถ้วนจำเลยยังไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาท และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 118 วรรคหนึ่ง, ม. 155 (ใหม่)


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2539
เมื่อคำให้การจำเลยแปลงความได้ว่าจำเลยยอมรับว่าได้ตกลงกู้เงินจากโจทก์และหลังจากทำสัญญากู้แล้วจำเลยได้รับเงินจากโจทก์จนครบและเกินจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญากู้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงผูกพันกันตามสัญญากู้ดังกล่าวสัญญากู้จึงมิใช่นิติกรรมอำพรางการยืมเงินทดรองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยที่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ คดีมีประเด็นพิพาทเพียงว่าจำเลยยืมเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้นหาได้มีประเด็นพิพาทว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่ทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมที่แท้จริงคือยืมเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการทำไร่อ้อยสัญญากู้จึงเป็นโมฆะดังนั้นการนำสืบหักล้างเรื่องการชำระหนี้จึงกระทำด้วยเอกสารหมายล.1ถึงล.3และจ.3ได้เพราะต้องถือตามสัญญาหรือข้อตกลงที่แท้จริงมิได้ถือเอาตามสัญญากู้นั้นจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 118, ม. 650
ป.วิ.พ. ม. 94 วรรคสอง, ม. 249 วรรคแรก
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที