Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1178 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1178 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1178” คืออะไร? 


“มาตรา 1178” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1178 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การประชุมใหญ่ต้องมีผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมกันไม่น้อยกว่าสองคนและมีจํานวนหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท จึงจะสามารถลงมติในเรื่องใด ๆ ได้ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1178” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1178 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541
การที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ และเกินกว่า 1 ใน 5แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ รวม6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1173 แล้วกรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามคือ ต้องเรียกประชุมโดยพลันจะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174 เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ ผู้คัดค้านกับมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสองกรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้น มติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1173, ม. 1174, ม. 1178


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541
ข้อบังคับของบริษัท เรื่องการประชุมใหญ่ระบุว่า การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมี 2 ชนิด คือ (1) การประชุมสามัญให้มีปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยคณะกรรมการเป็นผู้นัดประชุม (2) การประชุมวิสามัญให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1173 บัญญัติให้การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้นและในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด และตามมาตรา 1174 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญดังได้กล่าวมาในมาตราก่อนนี้แล้วให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน และถ้ากรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องไซร้ ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้องหรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกันได้จำนวนดังบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้ ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่และเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆรวม 6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและ ป.พ.พ.มาตรา 1173 แล้ว กรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามวรรคแรก คือต้องเรียกประชุมโดยพลัน จะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใดเมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ผู้คัดค้านกับนางจุรีมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2537 จึงชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1174 วรรคสอง กรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย
เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า1 ใน 4 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้นมติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1173, ม. 1174, ม. 1178


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2522
การโอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงลายมือชื่อในหนังสือโอนหุ้น มิฉะนั้นเป็นโมฆะ แม้จะทำต่อหน้าพยานรู้เห็นหลายคนก็ตาม การจดลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และโจทก์มาฟ้องให้โอนหุ้นคืน ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ที่รับโอนหุ้นต่อไปโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนก็ไม่เป็นเจ้าของหุ้น การประชุมใหญ่ก็นับเป็นจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ได้ ไม่ครบองค์ประชุมหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นมติของที่ประชุมไม่มีผล กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งก็ไม่ใช่กรรมการของบริษัทโดยชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 1129, ม. 1178
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที