Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1172 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1172 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1172” คืออะไร? 


“มาตรา 1172” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1172 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ กรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร
              ถ้าบริษัทขาดทุนลงถึงกึ่งจำนวนต้นทุน กรรมการต้องเรียกประชุมวิสามัญทันทีเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบการที่ขาดทุนนั้น “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1172” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1172 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2561
คำว่า "กรรมการ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1172 วรรคหนึ่ง หมายถึงคณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน การจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือไม่ กรรมการคนหนึ่งคนใดชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1162 มติของคณะกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1161 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองเรียกประชุมใหญ่โดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าว ดังนั้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1161, ม. 1162, ม. 1172 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2532
คำว่า "กรรมการ" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1172 วรรคแรก หมายถึง คณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน เมื่อกรรมการคนใดเห็นควรจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นก็ชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนและมติของกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ เมื่อผู้คัดค้านเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าวการนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนและบริษัท แต่ก็หาทำให้การประชุมใหญ่และการลงมติที่ได้เกิดขึ้นจริงไม่เป็นการประชุมใหญ่และการลงมติตามกฎหมายไม่ ดังนั้น การร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงต้องร้องขอภายในกำหนด1 เดือน นับแต่วันลงมติ.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1161, ม. 1162, ม. 1171, ม. 1172, ม. 1195


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1194/2527
โจทก์ฟ้องคดีในนามของโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท มิใช่ฟ้อง ในฐานะทำการแทนบริษัทเพื่อบังคับจำเลยให้รับจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง กรรมการและอำนาจกรรมการของบริษัทให้โจทก์เป็นกรรมการแต่เพียงผู้เดียว มีอำนาจลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท อันถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรง จึงมีอำนาจฟ้องคดีในขณะยื่นฟ้อง แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทและไม่ได้เกี่ยวข้อง กับบริษัทอีกต่อไปแล้วทั้งที่ประชุมวิสามัญของผู้ถือหุ้นได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่ากรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการ 2 คน ไม่ใช่โจทก์ จึงถือว่าโจทก์ ไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงในคดีนี้อีกต่อไป อำนาจฟ้องของโจทก์จึงหมดลง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1157, ม. 1172
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที