Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 117 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 117” คืออะไร? 


“มาตรา 117” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 117 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ ถ้าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิที่ขอจัดตั้งไว้ ให้คำขอจัดตั้งมูลนิธิที่ผู้ตายได้ยื่นไว้ต่อนายทะเบียนยังคงใช้ได้ต่อไป และให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ซึ่งผู้ตายมอบหมาย ดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต่อไป ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ดำเนินการภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตาย บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะดำเนินการในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธินั้นต่อไปก็ได้
              ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ตายกำหนดไว้ ถ้าหากไม่มีพินัยกรรมของผู้ตายสั่งการในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความในมาตรา ๑๖๗๙ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ถ้าไม่สามารถดำเนินการตามมาตรา ๑๖๗๙ วรรคสอง หรือมูลนิธิจัดตั้งขึ้นไม่ได้ตามมาตรา ๑๑๕ ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ตกเป็นมรดกของผู้ตาย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 117” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 117 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2536
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปเพื่อสืบพยานจำเลยที่จำเลยเคยแถลงไว้ในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดก่อนว่า ถ้าพยานไม่มาศาลในนัดหน้าก็ไม่ติดใจสืบนั้นเป็นกรณีที่ศาลสั่งไปตามเงื่อนไขในคำแถลงของจำเลย จึงเป็นคำสั่งที่ขอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะต้องไปไต่สวนอีกว่าพยานจำเลยไม่มาศาลเพราะเหตุใด โจทก์ส่งสำเนาใบมอบอำนาจเป็นเอกสารท้ายฟ้องผิดไป ก่อนสืบพยานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอส่งฉบับใหม่ที่ถูกต้อง ศาลอนุญาตและโจทก์นำสืบว่าโจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีตามใบมอบอำนาจฉบับใหม่มาตั้งแต่ต้น จำเลยจะอ้างเอาใบมอบอำนาจที่โจทก์ส่งผิดมาโดยที่โจทก์ได้แก้ไขแล้วมาเป็นเหตุให้ฟังว่าผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์นั้นเป็นการไม่ชอบ หนังสือของโจทก์ที่มีไปถึงผู้จัดการสาขาของโจทก์ แจ้งให้ทราบว่าหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรจะต้องทำสัญญาค้ำประกันเป็นการส่วนตัวสัญญาค้ำประกันก็ระบุว่าค้ำประกันเป็นการส่วนตัวไม่มีข้อความใดให้เห็นว่าเป็นการค้ำประกันในนามกลุ่มเกษตรกร ภูมิลำเนาของผู้ค้ำประกันที่ระบุในสัญญาก็เป็นภูมิลำเนาของจำเลย มิได้ระบุว่าอยู่ที่ที่ทำการของกลุ่มเกษตรกร และในช่องลายมือชื่อของจำเลยก็มิได้มีข้อความให้เห็นว่าลงชื่อไปในฐานะที่เป็นประธานกลุ่มเกษตรกร จำเลยจะถือเอาผลของสัญญาตามความคิดที่มีอยู่ในใจไม่ได้ ต้องผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมาในขณะทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยค้ำประกันเป็นการส่วนตัว ค่าอ้างเอกสารเป็นค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เมื่อโจทก์มิได้จงใจจะไม่ชำระค่าธรรมเนียมก็ไม่มีบทกฎหมายให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์อ้างเอกสารเป็นพยาน ดังนั้น เมื่อเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลจึงรับฟังได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 117
ป.วิ.พ. ม. 40, ม. 60, ม. 149, ม. ตาราง 2 (5)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535
โจทก์ให้จำเลยรื้อห้องแถวเดิมออกแล้วสร้างอาคารตึกแถวขึ้นใหม่โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาโดยถือเอาอายุฝ่ายผู้เช่าเป็นหลัก เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ต่อมาภายหลังโจทก์เรียกจำเลยมาทำสัญญาเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนด 1 ปี โดยมิได้มีเจตนาบังคับกันจริงจัง สัญญาเช่าฉบับหลังจึงไม่มีผลลบล้างสัญญาต่างตอบแทนที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าฉบับหลัง จำเลยนำสืบว่าสัญญาที่แท้จริงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า (ฉบับหลัง)ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แม้ว่าบริเวณใกล้เคียงอาคารตึกแถวที่พิพาทจะถูกเพลิงไหม้และทางราชการประกาศเป็นเขตเพลิงไหม้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 เพื่อทำการปรับปรุงที่ดินให้เป็นถนน ซึ่งรวมอาคารตึกแถวพิพาทเข้าในเขตเพลิงไหม้ดังกล่าวด้วย แต่เมื่ออาคารตึกแถวพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนข้อที่อ้างว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของตึกแถวพิพาทถูกบังคับให้รื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทตามประกาศของทางราชการซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้นโจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยไม่ได้เพราะการที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ มิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะดำเนินการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 117, ม. 537, ม. 541, ม. 567
ป.วิ.พ. ม. 94
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 56, ม. 58, ม. 60, ม. 61


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2535
การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะให้การจดทะเบียนการหย่าและหนังสือสัญญาหย่ามีผลผูกพันซึ่งโจทก์ก็ทราบถึงเจตนาอันแท้จริงของจำเลยดังกล่าวและโจทก์เองก็ไม่มีเจตนาที่จะหย่าขาดกับจำเลย การจดทะเบียนหย่าและหนังสือสัญญาหย่าตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 117 นั้น เป็นฎีกานอกประเด็นจากที่จำเลยให้การต่อสู้คดีจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ได้ยกบุตรผู้เยาว์ของโจทก์และจำเลยให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ อำนาจปกครองบุตรจึงตกแก่ ก. ผู้รับบุตรบุญธรรม โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูตามฟ้อง และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องดังฎีกาของจำเลยหรือไม่นี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จำเลยก็หยิบยกขึ้นอ้างอิงปัญหานี้ในชั้นฎีกาได้ โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากัน โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเด็กหญิง ณ. บุตรผู้เยาว์แก่โจทก์เดือนละ10,000 บาท แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรตามสัญญา ดังนี้ แม้ว่าต่อมาโจทก์จะได้ยกเด็กหญิง ณ. ให้เป็นบุตรบุญธรรมของ ก. สามีใหม่ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า ก. จดทะเบียนรับเด็กหญิง ณ.เป็นบุตรบุญธรรมภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว อีกทั้งบุตรบุญธรรมก็ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/28 ด้วย การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวหามีผลทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือทวงถามจำเลยให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาหย่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ยอมชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ตามหนังสือทวงถามถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 117, ม. 1598/28
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 183, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที