“มาตรา 1165 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1165” คืออะไร?
“มาตรา 1165” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1165 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการมอบอำนาจมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นไซร้ ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาขึ้นในที่ประชุมอนุกรรมการทั้งหลายให้ตัดสินเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานชี้ขาด“
1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1165” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1165 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1448/2520
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญากันว่าจำเลยที่ 1 ต้องทำสุราออกขายไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท และยอมเสียภาษีสุราไม่น้อยกว่าเดือนละ 9,192 เท เดือนใดเสียภาษีสุราต่ำกว่าจำนวนดังกล่าวนี้ จำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับเท่ากับสุรา ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที และจำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินค่าภาษีหรือเงินอื่นใดที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถทำสุราออกขายได้ตามจำนวนดังกล่าว และค้างชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนนับล้านบาท โจทก์ยอมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยผลแห่งข้อสัญญา หาใช่ว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือคำสั่งซึ่งออกตามกฎหมายเฉพาะกฎหมายสุราจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ไม่
เบี้ยปรับตามสัญญาก็คือ ค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าเพื่อชดใช้แก่กันหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาเป็นผู้ค้ำประกันและประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 2 เห็นได้ชัดว่ากระทำในฐานะกรรมการผู้จัดการซึ่งเป็นตัวแทนหรือตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว และยังปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับรองการทำสัญญาดังกล่าวของกรรมการผู้จัดการ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญา แม้ข้อบังคับของจำเลยที่ 2 จะมีว่ากรรมการจะต้องลงนามร่วมกัน 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ ก็เป็นเรื่องการจำกัดอำนาจกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนของบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 อันเป็นคนละกรณีกับการกระทำโดยทางตัวแทน
ในกรณีที่การบอกเลิกสัญญาไม่ทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้วระงับสิ้นลง จนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้นั้น แม้เจ้าหนี้ได้บอกเลิกสัญญากับลูกหนี้ก็หาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 379, ม. 386, ม. 698, ม. 797, ม. 820, ม. 821, ม. 1144, ม. 1165, ม. 1167