Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1161 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1161 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1161” คืออะไร? 


“มาตรา 1161” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1161 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ข้อปรึกษาซึ่งเกิดเป็นปัญหาในที่ประชุมกรรมการนั้นให้ชี้ขาดตัดสินเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ ถ้าและคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1161” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1161 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8340/2563
โดยปกติการจัดการบริษัทเป็นอำนาจหน้าที่ของกรรมการทั้งหมดที่จะต้องรับผิดชอบร่วมกัน ในส่วนของการประชุมกรรมการ มติของคณะกรรมการต้องเป็นไปตามเสียงข้างมาก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1161 แต่ปรากฏว่า กรรมการของจำเลยพิพาทกันในเรื่องการเงินของบริษัท และผู้ถือหุ้นแบ่งเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งมีโจทก์กับ ภ. อีกฝ่ายมี ช. และ ป. ซึ่งแต่ละฝ่ายถือหุ้นของจำเลยครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่ากัน การที่ ช. ในฐานะกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการของจำเลย เป็นการใช้สิทธิของกรรมการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1162 ที่บัญญัติว่า กรรมการคนหนึ่งคนใดจะนัดเรียกประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้ ส่วนการกำหนดสถานที่ประชุมนั้น จำเลยไม่ได้มีข้อบังคับของบริษัทโดยเฉพาะ ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดที่กำหนดว่าต้องจัดประชุม ณ สำนักงานของบริษัท การกำหนดสถานที่ประชุมจึงเป็นไปตามที่กรรมการพิจารณาเห็นสมควร โดยข้อสำคัญจะต้องเป็นสถานที่ซึ่งตามสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งสถานที่นั้นผู้ได้รับเชิญสามารถที่จะไปเข้าร่วมประชุมได้ เมื่อสภาพของสถานที่ประชุมน่าจะเป็นสำนักทำการงานปกติ ทั้งไม่ปรากฏพฤติการณ์แต่อย่างใดว่า การไปประชุมยังสถานที่ดังกล่าวจะเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับภยันตรายหรือจะมีบุคคลใดมาประทุษร้ายโจทก์ คงเป็นเพียงการคาดคิดของโจทก์แต่ฝ่ายเดียวว่า อาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยในการไปประชุม การประชุมคณะกรรมการและการลงมติเพื่อกำหนดการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2559 ดำเนินการโดยชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นในครั้งนี้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1161, ม. 1162


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2561
คำว่า "กรรมการ" ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1172 วรรคหนึ่ง หมายถึงคณะกรรมการ มิได้หมายถึงกรรมการคนหนึ่งคนใดหรือหลายคน การจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญหรือไม่ กรรมการคนหนึ่งคนใดชอบที่จะนัดเรียกประชุมกรรมการเพื่อพิจารณากันเสียก่อนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1162 มติของคณะกรรมการจะต้องถือเอาเสียงข้างมากเป็นใหญ่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1161 เมื่อปรากฏว่าผู้คัดค้านทั้งสองเรียกประชุมใหญ่โดยมิได้กระทำตามขั้นตอนดังกล่าว ดังนั้น การนัดเรียกประชุมใหญ่ตลอดจนการประชุมและการลงมติจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1161, ม. 1162, ม. 1172 วรรคหนึ่ง


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179 - 180/2539
ขณะที่มีการโอนหุ้นจำเลยที่ 1 มีกรรมการ 5 คน และตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1ระบุว่า การประชุมกรรมการจะต้องมีคณะกรรมการเข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุมปรึกษากิจการได้ ดังนั้น การที่กรรมการของจำเลยที่ 1 เพียง 2 คน ลงชื่ออนุมัติในการโอนหุ้นย่อมถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 เห็นชอบในการโอนหุ้นเมื่อการที่จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3ได้เข้าร่วมประชุมและออกเสียงในที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และย่อมส่งผลให้การประชุมและมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ในครั้งดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ไปด้วยชอบที่จะให้เพิกถอนมติที่ประชุมของจำเลยที่ 1 นั้นเสีย
ข้อฎีกาที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1129, ม. 1161
ป.วิ.พ. ม. 84, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที