Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1158 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1158 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1158” คืออะไร? 


“มาตรา 1158” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1158 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ นอกจากจะมีข้อบังคับของบริษัทไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการมีอำนาจตามบทบัญญัติในเจ็ดมาตราต่อไปนี้ “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1158” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1180 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2557
เมื่อตำแหน่งประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 ว่างลง กรณีจึงไม่มีประธานกรรมการของจำเลยที่ 1 ที่จะทำหน้าที่นัดเรียกประชุมกรรมการ จึงมีเหตุขัดข้องที่ไม่อาจดำเนินการตามข้อบังคับที่ระบุว่าให้ประธานกรรมการเป็นผู้นัดเรียกประชุมกรรมการ เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 2 ระบุให้รับเอาบทบัญญัติใน ป.พ.พ. ว่าด้วยบริษัทจำกัดเป็นข้อบังคับของบริษัท ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1162 บัญญัติว่า กรรมการคนหนึ่งคนใดจะนัดเรียกให้ประชุมกรรมการเมื่อใดก็ได้ การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้นัดเรียกประชุมกรรมการจึงเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ข้อ 2 แล้ว ส่วนการที่มีการเรียกประชุมกรรมการโดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์นั้น ตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กำหนดวิธีการนัดเรียกประชุมไว้ ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1144 ประกอบมาตรา 1158 ก็มิใช่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับวิธีการนัดเรียกประชุมกรรมการ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดต่อโจทก์โดยวิธีอื่นใดได้ จึงต้องนัดเรียกประชุมกรรมการโดยวิธีประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ การเรียกประชุมกรรมการโดยวิธีดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1144, ม. 1158, ม. 1162


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1493/2540
การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1144,1158 และ 1164 เป็นการมอบอำนาจของกรรมการบริษัทที่มอบอำนาจของกรรมการเองให้แก่ผู้อื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับมอบอำนาจเช่นนั้นต้องเป็นผู้จัดการหรืออนุกรรมการซึ่งตั้งจากผู้เป็นกรรมการบริษัทด้วยกัน แต่การมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทเช่นการมอบอำนาจ ให้ฟ้องคดีแทนบริษัทในคดีนี้ โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีด้วยตนเองหรือโดยมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นมาฟ้องคดีแทน และในกรณีที่โจทก์มอบอำนาจให้ บุคคลอื่นฟ้องคดีแทน การมอบอำนาจนั้นย่อมต้องกระทำโดยกรรมการ ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ ซึ่งจะมอบอำนาจเช่นนั้นให้ แก่บุคคลใดก็ได้ เว้นแต่โจทก์มีข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับการ มอบอำนาจเช่นนั้นไว้เป็นพิเศษว่าต้องมอบให้แก่บุคคลประเภทใด โดยเฉพาะ จึงจะต้องกระทำให้ถูกต้องตามข้อบังคับนั้นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ถูกโจทก์อ้างเอกสารหมาย จ.9 มาเป็น พยานหลักฐานยันจำเลยทั้งสี่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็มิได้คัดค้านว่าเอกสารนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และไม่ได้ขออนุญาต คัดค้านในภายหลังก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา จึงต้องห้ามมิให้ คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้นหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 เอกสารหมาย จ.9 จึงรับฟังพยานหลักฐานได้ ในการกู้เงินจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินไว้ ดังนั้นจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะนำสืบว่าจำเลยที่ 1ได้ใช้เงินกู้ดังกล่าวให้โจทก์ได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืมมาแสดง หรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้ไถ่ถอนการจำนองที่ดินที่จำนองไว้เป็นประกันเงินกู้ดังกล่าวแล้วนั้นมิใช่เป็นหลักฐานการชำระเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้กู้ยืม หรือนำสืบว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารนั้นแล้วแต่อย่างใด จำเลยที่ 2 ที่ 4 จึงไม่มีพยานหลักฐานให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินกู้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว ดังนี้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 70, ม. 653, ม. 797, ม. 1144, ม. 1158, ม. 1164
ป.วิ.พ. ม. 47, ม. 90, ม. 125


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131 - 146/2518
กรรมการบริษัทโจทก์สองนายได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย. ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์เป็นตัวแทน มีอำนาจกระทำการในนามบริษัทโจทก์ และลงนามในหนังสือสัญญาขายสินค้าแทนบริษัทโจทก์ได้ฉะนั้น ที่ ย. ได้ทำสัญญาให้เช่าซื้อในนามบริษัทโจทก์ลงลายมือชื่อ ย. คนเดียวและประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำแทนบริษัทโจทก์โดยได้รับมอบอำนาจจากบริษัทโจทก์โดยชอบ

บริษัทจำเลยที่ 1 เคยให้ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ในหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทมิตซูบิชิและบริษัทโตโยต้า แล้วนำรถนั้นมาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 แม้ ท. จะได้กระทำไปโดยผิดระเบียบ บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับและในขณะที่ ท.ทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ในนามบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อ ได้ลงลายมือชื่อประทับตราดุน ซึ่งเป็นตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 แทนบริษัทจำเลยที่ 1 ก็แสดงให้เห็นว่า ท. ได้เช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์มาใช้ในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นเช่าซื้อรถเป็นส่วนตัวของ ท. กับจำเลยที่ 2 เมื่อได้ส่งมอบรถกันแล้วมีหลักฐานทะเบียนรถว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรถทั้ง 16 คัน และมีการต่อตัวถังทำเป็นรถยนต์รับส่งคนโดยสาร ทาสีรถเป็นสีเขียวเหลือง และตราของบริษัทจำเลยที่ 1 บริษัทจำเลยที่ 1 ได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง แล้วนำรถทั้งหมดไปใช้แล่นรับส่งคนโดยสารหาประโยชน์ในเส้นทางสัมปทานของบริษัทจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่า ท. กับ ช. ได้ใช้รถแล่นหาผลประโยชน์เป็นส่วนตัวเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือเอาประโยชน์ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถที่บริษัทโจทก์ได้นำมาฟ้อง แม้ ท. จะได้กระทำผิดข้อระเบียบข้อบังคับของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันต่อการกระทำของ ท. ซึ่งเป็นตัวแทนในการทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถจากบริษัทโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 บริษัทจำเลยที่1 จึงมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตอบแทนแก่บริษัทโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 บริษัทโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุผิดสัญญาจากบริษัทจำเลยที่ 1 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 369, ม. 572, ม. 797, ม. 823, ม. 1144, ม. 1158, ม. 1167
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที