Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1154 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1154 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1154” คืออะไร? 


“มาตรา 1154” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1154 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้ากรรมการคนใดล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่ากรรมการคนนั้นเป็นอันขาดจากตำแหน่ง “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1154” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1154 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2538
จำเลยที่2ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายเมื่อวันที่17มีนาคม2530และคดีถึงที่สุดแล้วเมื่อจำเลยที่2ตกเป็นบุคคลล้มละลายจำเลยที่2ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ก็ต้องเป็นอันขาดจากตำแหน่งกรรมการจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1154การที่จำเลยที่2ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่1แต่งตั้งทนายความไปยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายหลังจากเป็นบุคคลล้มละลายแล้วเพื่อขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่1จึงเป็นการไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1154


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2533
การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายย่อมทำให้จำเลยที่ 2 กลับมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสามารถต่อสู้คดีได้เอง โจทก์ฟ้องคดีภายหลังศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 25 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเข้าว่าคดีหรือมีคำขอให้จำหน่ายคดี ศาลย่อมมีอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 2 ตกเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยที่ 2 ย่อมขาดจากตำแหน่งกรรมการของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1154 จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนอีกต่อไป เมื่ออำนาจจัดการทรัพย์สินจำเลยที่ 1 ของจำเลยที่ 2 หมดไปแล้ว จึงมิอาจเปลี่ยนมือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1154
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 25


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลยส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไปดังนั้นการที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัทจึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 113, ม. 1154
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 24
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที