Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1148 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1148 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1148” คืออะไร? 


“มาตรา 1148” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1148 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บรรดาบริษัทจำกัด ต้องมีสำนักงานบอกทะเบียนไว้แห่งหนึ่งซึ่งธุรการติดต่อและคำบอกกล่าวทั้งปวงจะส่งถึงบริษัทได้ ณ ที่นั้น
              คำบอกกล่าวสถานที่ตั้งแห่งสำนักงานที่ได้บอกทะเบียนไว้ก็ดี หรือเปลี่ยนย้ายสถานที่ก็ดี ให้ส่งแก่นายทะเบียนบริษัท และให้นายทะเบียนจดข้อความนั้นลงในทะเบียน “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1148” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1148 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งความคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด30 วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 30 (2)
ป.พ.พ. ม. 131, ม. 1098, ม. 1148
ป.วิ.พ. ม. 55


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2518
คนยามซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้จากบุรุษไปรษณีย์ ณ สำนักงานใหญ่ที่บริษัทโจทก์ได้จดทะเบียนไว้เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2513 ดังนี้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามความในประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ในวันนั้นแล้ว พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่โจทก์นำสืบซึ่งทำให้ที่ปรึกษาากฎหมายของโจทก์ได้รับเอกสารดังกล่าวในวันที่ 1 กันยายน 2513 นั้น เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับเจ้าหน้าที่ของตนจะนำมาใช้ยันต่อจำเลยหาได้ไม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 30 กันยายน 2513 เกินกำหนด 30วัน คดีโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 30 (2)
ป.พ.พ. ม. 131, ม. 1098, ม. 1148
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที