Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1143 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1143” คืออะไร? 


“มาตรา 1143” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1143 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ห้ามมิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือรับจำนำหุ้นของตนเอง “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1143” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1143 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2546
จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งมีฐานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 3 เท่านั้น โจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกันก่อนที่จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อนที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะมีอยู่อย่างไร จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ไม่อาจเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเองจึงไม่อาจโอนหุ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ขอให้โอนหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แท้จริงเพียงเพื่อถือที่ดินแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง และดำเนินการต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับที่ดินนั้น ในส่วนของผู้ถือหุ้นคิดคำนวณจำนวนหุ้นตามสัดส่วนที่ดินที่เป็นเจ้าของ มิได้ถือหุ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ประการอื่น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องจำนวนหุ้นจึงมีนัยเดียวกันกับเรียกร้องเอาที่ดินคืน ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนหุ้นของจำเลยที่ 1 ในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์ ก็ให้ใช้ราคาหุ้นตามราคาที่ดิน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2546)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1015, ม. 1143


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4332/2536
การที่จำเลยโอนหุ้นของบริษัทโจทก์เพื่อชำระหนี้ให้แก่บริษัทโจทก์ โดยวิธีสลักหลังลอยส่งมอบใบหุ้นแก่บริษัทโจทก์ ก็มีผลเท่ากับว่าบริษัทโจทก์รับเอาหุ้นของบริษัทโจทก์ไว้เป็นประกันนั่นเองอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ห้ามบริษัทจำกัดรับจำนำหุ้นของตนเอง เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113(มาตรา 151 ที่แก้ไขใหม่)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 150, ม. 1143


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2528
จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ซื้อหุ้นของโจทก์และทำสัญญากู้ยืมเงิน จากโจทก์มาชำระค่าหุ้นโดยจำเลยนำ ตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ยึดไว้เป็น หลักประกันในการกู้ยืมเงิน ดังกล่าวเท่านั้น กรณีมิใช่โจทก์รับจำนำหุ้น ของตนไว้เป็นประกัน นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นไป โดยชอบด้วยกฎหมาย หาตกเป็นโมฆะไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามสัญญากู้ยืมเงินนั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1143
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที