“มาตรา 1138 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1138” คืออะไร?
“มาตรา 1138” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1138 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บริษัทจำกัดต้องมีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น มีรายการดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ชื่อและสำนัก กับอาชีวะ ถ้าว่ามี ของผู้ถือหุ้น ข้อแถลงเรื่องหุ้นของผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ๆ แยกหุ้นออกตามเลขหมายและจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้ว หรือที่ได้ตกลงกันให้ถือว่าเป็นอันได้ใช้แล้วในหุ้นของผู้ถือหุ้นคนหนึ่ง ๆ
(๒) วันเดือนปีซึ่งได้ลงทะเบียนบุคคลผู้หนึ่ง ๆ เป็นผู้ถือหุ้น
(๓) วันเดือนปีซึ่งบุคคลคนใดคนหนึ่งขาดจากเป็นผู้ถือหุ้น
(๔) เลขหมายใบหุ้นและวันที่ลงในใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ และเลขหมายของหุ้นซึ่งได้ลงไว้ในใบหุ้นนั้น ๆ
(๕) วันที่ได้ขีดฆ่าใบหุ้นชนิดระบุชื่อ หรือชนิดออกให้แก่ผู้ถือ “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1138” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1138 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6908/2538
ผู้ร้องมีหนังสือของบริษัทจำเลยซึ่งม. กรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยลงลายมือชื่อโดยประทับตราของบริษัทจำเลยยืนยันว่าบริษัทจำเลยได้รับเงินค่าหุ้นที่ค้างจากผู้ร้องแล้วมาแสดงซึ่งผู้ร้องได้อ้างส่งไว้ในชั้นสอบสวนของผู้คัดค้านที่ผู้คัดค้านอ้างว่าจากการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยปรากฏว่าผู้ร้องยังค้างชำระค่าหุ้นแก่บริษัทจำเลยอยู่เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ปฏิเสธว่าหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวบริษัทจำเลยไม่ได้ทำขึ้นหรือทำไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่อย่างไรหนังสือรับเงินค่าหุ้นดังกล่าวจึงรับฟังได้ การชำระเงินค่าหุ้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องจดแจ้งลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นด้วยจึงใช้ยันแก่บริษัทจำเลยรวมทั้งผู้คัดค้านได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1129, ม. 1138
ป.วิ.พ. ม. 125
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732 - 3733/2530
โจทก์รับโอนหุ้นบริษัทมาโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทให้แก้ชื่อผู้ถือหุ้นในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเป็นชื่อโจทก์ได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1129, ม. 1138
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 535/2506
ตามบันทึกรายงานการประชุม งบดุลและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ส่งต่อกองทะเบียนหุ้นส่วน ปรากฏว่า ผู้ร้องลงชื่อเป็นประธานในที่ประชุมและลงชื่อรับรองในฐานะกรรมการไว้ในงบดุลย์ด้วยและตามบัญชีผู้ถือหุ้นนั้นปรากฏว่าผู้ร้องถือหุ้นบุริมสิทธิ 20 หุ้น และหุ้นสามัญ 226 หุ้น ดังนี้ ผู้ร้องจะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่เห็นและไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นตามบัญชีที่ปรากฏอยู่ที่นายทะเบียนนั้นหาได้ไม่
เอกสารต่างๆ ของบริษัทซึ่งต้องส่งต่อนายทะเบียนนั้นกรรมการลงชื่อรับรองเพียงคนเดียวก็ใช้ได้
การคืนหุ้นจะทำได้ก็โดยวิธีโอน ซึ่งต้องกระทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนในสมุดทะเบียนของบริษัทจึงจะใช้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119
ป.พ.พ. ม. 1020, ม. 1024, ม. 1111, ม. 1129, ม. 1168, ม. 1138, ม. 1139