Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1130 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1130 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1130” คืออะไร? 


“มาตรา 1130” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1130 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ หุ้นใดเงินที่เรียกค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่ หุ้นนั้นบริษัทจะไม่ยอมรับจดทะเบียนให้โอนก็ได้ “

 


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1130” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1130 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2503
โจทก์ซื้อที่ดินมือเปล่า จากการขายทอดตลาดของศาลเมื่อ พ.ศ. 2492 โดยโจทก์มิได้เข้าครอบครองเลย โจทก์เคยถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอน การขายทอดตลาดที่พิพาทดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง คดีถึงที่สุดเพียงชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2497 ต่อมาวันที่ 16 มิ.ย. 2499 โจทก์มาฟ้องว่า ระหว่าง พ.ศ. 2492 ถึง 2499 จำเลยทั้งสามบุกรุกเข้าทำนาในที่พิพาท ขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยต่อสู้เรื่องอายุความ เช่นนี้ถือว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เพราะโจทก์ไม่ฟ้องคดีเสียภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
เมื่อศาลวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องค่าเสียหายได้
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น โจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ว่า ชอบที่จะร้องได้ภายใน 10 ปี หาได้ไม่ เพราะมาตรา 271 เป็นบทบัญญัติถึงสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาตามที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องในคดีก่อน และศาลยกฟ้องไปนั้น มิได้ทำให้โจทก์มีสิทธิในฐานะเป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาเหนือจำเลยในคดีนี้อย่างใด กรณีไม่เข้าบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 190, ม. 420, ม. 1130, ม. 1375
ป.วิ.พ. ม. 271
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที