“มาตรา 1125 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1125” คืออะไร?
“มาตรา 1125” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1125 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ หุ้นซึ่งริบแล้วนั้นให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า ได้จำนวนเงินเท่าใดให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใดต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นนั้น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1125” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1125 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1119และ1120เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้วเงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใดกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียวหรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่นเมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ75บาทจำนวน4,500หุ้นดังนั้นกรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการและปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วยแม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์คดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นการริบหุ้นการขายทอดตลาดหุ้นและความรับผิดของจำเลยนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า21วันหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้นกับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลยซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมายจ.1จ.2จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง3ฉบับแล้วจำเลยเพิกเฉยตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1121,1123,1124แล้วโจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา1125 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1125บัญญัติแต่เพียงว่าหุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกกล่าวขายทอดตลาดแล้วและโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้นแม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา512ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไรจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้วและเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 5, ม. 512, ม. 1119, ม. 1120, ม. 1121, ม. 1123, ม. 1124, ม. 1125
ป.วิ.พ. ม. 183
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วยหรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม. ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม. หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 511, ม. 512, ม. 1106, ม. 1124, ม. 1125
ป.วิ.พ. ม. 249
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้นจะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อนมิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1121, ม. 1123, ม. 1124, ม. 1125
ป.วิ.พ. ม. 285, ม. 287