Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1120 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1120 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1120” คืออะไร? 


“มาตรา 1120” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1120 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น กรรมการจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1120” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1120 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2560
การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) เป็นกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในปัญหาว่า คดีในส่วนจำเลยที่ 2 อยู่ในอำนาจศาลภาษีอากรกลางหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตามมาตรา 10 วรรคสอง (เดิม) กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัย ศาลภาษีอากรกลางหามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ประกอบกับคู่ความไม่ได้โต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ จึงไม่มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องเขตอำนาจศาล ที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และพิพากษายกฟ้องมานั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานของโจทก์มีหนังสือไปยังกรรมการจำเลยที่ 1 เพื่อให้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 2 นำเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบมาชำระแก่จำเลยที่ 1 ให้ครบถ้วน ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสิทธิเรียกร้องของตนเป็นเหตุให้โจทก์เสียประโยชน์ หนี้ค่าภาษีอากรที่โจทก์มีต่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้มีบุริมสิทธิ กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 233 และมาตรา 235 โจทก์ชอบจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ต่อจำเลยที่ 2 ได้ แต่การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 อันมีต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งยังส่งใช้เงินค่าหุ้นไม่ครบถ้วนพร้อมดอกเบี้ย แม้โจทก์จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ในนามของตนเองตามมาตรา 233 ก็เป็นการใช้สิทธิแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่งใช้เงินค่าหุ้นที่ยังไม่ครบพร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 235, ม. 1119, ม. 1120, ม. 1121
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ม. 7 (2), ม. 10 วรรคสอง (เดิม)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2559
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1120 บรรดาเงินค่าหุ้นซึ่งยังจะต้องส่งอีกนั้น กรรมการจะเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งใช้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ชำระค่าหุ้นอีกร้อยละ 75 ที่จองซื้อไว้ตามที่กรรมการโจทก์เรียกร้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิริบหุ้นที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จองซื้อไว้โดยไม่จำต้องรอให้ที่ประชุมใหญ่ของโจทก์จัดประชุมใหญ่เพื่อวินิจฉัยในเรื่องนี้เพราะบทบัญญัติของกฎหมายมิได้ให้สิทธิจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะจัดให้มีการการจัดประชุมใหญ่เสียก่อนจึงจะชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมตามที่โจทก์เรียกร้อง นอกจากนี้ยังปรากฏตามรายงานการประชุมใหญ่ของโจทก์ในวันที่ 25 สิงหาคม 2549 ก็ไม่ปรากฏว่าที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยเป็นอย่างอื่นในลักษณะการลงมติมิให้โจทก์เรียกเก็บค่าหุ้นเพิ่มเติม ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 จะต้องรับผิดค่าหุ้นเพิ่มเติมรวมทั้งดอกเบี้ย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1120


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2549
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดสิทธิเรียกร้องได้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ, 311 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง
สิทธิเรียกร้องให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระเป็นสิทธิเรียกร้องที่บริษัทจำเลยมีต่อผู้ถือหุ้นเป็นสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลภายนอกอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ เมื่อบริษัทจำเลยมีสิทธิเรียกร้องให้ ว. ผู้ถือหุ้นชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดค่าหุ้นที่ค้างชำระนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งอายัดให้ ว. ส่งเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 312 วรรคสอง ที่ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีสามารถร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีแก่บุคคลภายนอกนั้นและดำเนินการไปเสมือนหนึ่งว่าบุคคลนั้นเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1125 เป็นเรื่องวิธีการเรียกค่าหุ้นค้างชำระของบริษัทในกรณีปกติ แต่เมื่อกรรมการบริษัทจำเลยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนี้ ก็ไม่ห้ามเจ้าหนี้ที่จะให้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 ทั้งไม่ห้ามเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขออายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 310 ทวิ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 233, ม. 1120
ป.วิ.พ. ม. 310 ทวิ, ม. 312
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที