Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1112 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1112 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1112” คืออะไร? 


“มาตรา 1112” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1112 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าการจดทะเบียนมิได้ทำภายในสามเดือนนับแต่ประชุมตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่าบริษัทนั้นเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น และบรรดาเงินที่ได้รับไว้จากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นต้องใช้คืนเต็มจำนวนมิให้ลดเลย
              ถ้ามีจำนวนเงินเช่นว่านั้นค้างอยู่มิได้คืนในสามเดือนภายหลังการประชุมตั้งบริษัทไซร้ ท่านว่ากรรมการของบริษัทต้องรับผิดร่วมกันที่จะใช้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยคิดตั้งแต่เวลาสิ้นกำหนดสามเดือนนั้น
              แต่ถ้ากรรมการคนใดพิสูจน์ได้ว่า การที่เงินขาดหรือที่ใช้คืนช้าไปมิได้เป็นเพราะความผิดของตนไซร้ กรรมการคนนั้นก็ไม่ต้องรับผิดในการใช้ต้นเงินหรือดอกเบี้ย “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1112” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1112 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2517
ผู้ขอรับชำระหนี้กับจำเลยตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อจะจัดตั้งบริษัททำการจัดสรรที่ดินและอาคารให้เช่าโดยให้ชื่อว่าบริษัทสยามอาคารซึ่งไม่มีคำว่าจำกัด ไว้ปลายชื่อและไม่ปรากฏว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือเพียงใช้ชื่อบริษัทแต่ความจริงเป็นหุ้นส่วน ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระเงินค่าหุ้นให้จำเลยรับไว้แล้ว และบริษัทได้มีการเริ่มงานไปบ้างแล้วโดยหุ้นส่วนทุกคนมอบให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียว ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงมิใช่บริษัทจำกัด แม้จะมิได้มีการจดทะเบียนก็จะถือว่ากิจการอันตกลงร่วมหุ้นกันนั้นยังไม่จัดตั้งขึ้นหาได้ไม่ จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1112 มาปรับแก่กรณีมิได้ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินค่าหุ้นคืนจากจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1012, ม. 1042, ม. 1098 (1), ม. 1103 (1), ม. 1112
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91, ม. 94


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2508
สัญญาที่จำเลยผู้ทำละเมิดทำให้ไว้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อระงับข้อพิพาทโดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยนั้น ยังหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ แต่ในชั้นพิจารณาถ้าจำเลยแถลงต่อศาลโดยอ้างถึงสัญญานี้ และโจทก์ก็ได้แถลงรับ ทั้งขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แล้วต่างลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลด้วยรายงานกระบวนพิจารณานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงย่อมจะมาฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเดิมอีกไม่ได้ได้แต่จะฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 852, ม. 1112


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 296/2508
สัญญาที่จำเลยผู้ละเมิดทำให้ไว้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อระงับข้อพิพาท โดยโจทก์มิได้ตกลงด้วยนั้น ยังหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ แต่ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยแถลงต่อศาลโดยอ้างถึงสัญญานี้ และโจทก์ก็ได้แถลงรับ ทั้งขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แล้วต่างลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลด้วย รายงานกระบวนพิจารณานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความอันเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงย่อมจะมาฟ้องจำเลยในมูลละเมิดเดิมอีกไม่ได้ ได้แต่ฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้เท่านั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 425, ม. 452, ม. 1112
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที