Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1110 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1110 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1110” คืออะไร? 


“มาตรา 1110” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1110 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ให้ผู้เริ่มก่อการบริษัทมอบการทั้งปวงให้แก่กรรมการของบริษัท
              เมื่อกรรมการได้รับการแล้ว ก็ให้ลงมือจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินในหุ้นซึ่งจะต้องใช้เป็นตัวเงิน เรียกหุ้นหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามที่ได้กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวนบอกกล่าวป่าวร้องหรือหนังสือชวนให้ซื้อหุ้น “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1110” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1110 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5585/2541
แม้ในขณะที่โจทก์ทำสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างกับจำเลยที่ 2 ตามเอกสารที่พิพาท จำเลยที่ 1ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3ก็เป็นผู้ร่วมก่อการและกรรมการของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์หลังจากจำเลยที่ 2 ทำสัญญาแล้ว ประกอบกับจำเลยที่ 3เป็นผู้บริหารโรงแรมร่วมกับจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3มีส่วนรู้เห็นร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ด้วยและเมื่อโจทก์ส่งมอบอาคารให้แก่จำเลยทั้งสามในวันรุ่งขึ้นจำเลยทั้งสามก็ได้เปิดดำเนินกิจการโรงแรมในอาคารดังกล่าว จึงเป็นการที่จำเลยที่ 1 ยอมรับเอาสัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการของตน จำเลยที่ 1 ย่อมต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย สำหรับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขตัวอาคาร จำเลยที่ 2เป็นผู้ตกลงกับโจทก์ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนเป็นอาคารโรงแรมเอง เมื่อโจทก์ก่อสร้างอาคารเสร็จจำเลยทั้งสามก็ได้ยอมรับมอบอาคารจากโจทก์ โดยดีและเปิดดำเนินกิจการเป็นโรงแรมเช่นนี้ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาแก้ไข แบบแปลนอาคารดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1108, ม. 1110, ม. 1113


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2514
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าไม้ที่จำเลยซื้อไปในระหว่างที่โจทก์ร่วมกันออกทุนเข้าหุ้นค้าไม้ไปหลาง ระหว่างเริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัด จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริง แต่อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาส่งไม้ไม่ครบ มิได้ต่อสู้ว่าบริษัทเป็นคู่สัญญา ไม่มีประเด็นว่าหนี้สินตามฟ้องเป็นของบริษัทหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีได้ แม้จะปรากฏต่อมาว่าบริษัทนั้นได้จดทะเบียนแล้วก็ตาม
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันให้ผู้ขายส่งไม้ที่ซื้อขายจากจังหวัดกาญจนบุรีถึงร้านค้าของผู้ซื้อที่จังหวัดพระนคร กรณีไม่ต้องด้วยลักษณะขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันพึงชำระหนี้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้กัน 2 ฉบับ ต่างวาระกัน โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าไม้ ซึ่งจำเลยค้างชำระตามสัญญาฉบับแรก จำเลยจะฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้รับเงินค่าไม้ล่วงหน้าตามสัญญาฉบับหลังจากจำเลยและผิดสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอหักหนี้กับโจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ก็ยังมีข้อต่อสู้อยู่ (ว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญาและจำเลยไม่เสียหาย) จำเลยจึงขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องมิได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 177
ป.พ.พ. ม. 464, ม. 344, ม. 1097, ม. 1108, ม. 1110
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที