Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 111 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


“มาตรา 111 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 111” คืออะไร? 
“มาตรา 111” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 111 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ มูลนิธิต้องมีข้อบังคับ และต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยสามคน เป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 111” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 111 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตามแต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา509เท่านั้นประกอบกับมาตรา515ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์และในมาตรา516ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีกหากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิมผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาดแต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิมก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ฉะนั้นแม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้วแต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาดซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่17มีนาคม2537ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุดทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่1เมษายน2537การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าวเมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จบริบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่5กันยายน2533ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าวผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 111 (เดิม), ม. 509, ม. 515, ม. 516, ม. 1336
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 146


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539
การขายทอดตลาดแม้จะบริบูรณ์เมื่อผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยการเคาะไม้ก็ตาม แต่ก็มีผลเพียงทำให้ผู้สู้ราคาไม่อาจถอนคำสู้ราคาของตนได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 509 เท่านั้น ประกอบกับมาตรา 515ได้บัญญัติให้ผู้สู้ราคาสูงสุดนั้นต้องใช้ราคาเป็นเงินสดเมื่อการซื้อขายบริบูรณ์ และในมาตรา 516 ยังได้บัญญัติต่อไปว่าถ้าผู้สู้ราคาสูงสุดละเลยเสียไม่ใช้ราคาก็ให้เอาทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดซ้ำอีก หากได้เงินจำนวนสุทธิไม่คุ้มราคาและค่าทอดตลาดชั้นเดิม ผู้สู้ราคาเดิมคนนั้นต้องรับผิดในส่วนที่ขาด แต่หากขายได้เงินจำนวนสุทธิสูงกว่าที่ผู้สู้ราคาเดิมได้ให้ราคาไว้ในชั้นเดิม ก็หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องคืนเงินส่วนที่สูงกว่าดังกล่าวแก่ผู้สู้ราคาเดิมไม่ ฉะนั้น แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้ว แต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่ จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุด ทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537 การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าว เมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องทั้งสามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2533 ผู้ร้องทั้งสามจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างยังคงเป็นของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์อันเป็นดอกผลในที่ดินดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจเก็บรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้ ผู้ร้องทั้งสามไม่มีสิทธิได้รับเงินผลประโยชน์นั้น.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 111 (เดิม), ม. 515, ม. 516, ม. 1336
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 22, ม. 146


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 109 (เดิม), ม. 111 (เดิม), ม. 1356, ม. 1360, ม. 1474, ม. 1605
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที