Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1103 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1103 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1103” คืออะไร? 


“มาตรา 1103” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1103 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ (ยกเลิก) “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1103” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1103 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519
เมื่อโจทก์ถือว่าคำสั่งเดิมของเจ้าพนักงานประเมินที่ได้นำส่งภาษีเงินได้เป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์ ก็ชอบที่เจ้าพนักงานประเมินจะออกคำสั่งฉบับใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้อง โดยยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมที่ระบุชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์นั้นเสีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินกระทำเช่นนั้น
การที่โจทก์ออกหุ้นให้บริษัท ฟ. เป็นไปตามข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัท ฟ. คือเพื่อตอบแทนที่บริษัท ฟ. ได้ให้ข้อสนเทศและบริการแก่โจทก์ โจทก์ต้องจัดสรรหุ้นให้แก่บริษัท ฟ. เป็นหุ้นที่ชำระเต็มมูลค่าแล้ว ภาษีที่จะต้องเสีย โจทก์รับเป็นผู้เสียเองโดยตรง ดังนี้ บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ คือสิทธิบัตรในการผลิตยางซึ่งบริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนไว้แล้วในสหรัฐอเมริกา อันเป็นสิทธิที่โจทก์ยอมรับนับถือ โดยยอมจ่ายค่าตอบแทนสิทธิเช่นว่านี้เป็นหุ้น จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) แม้จะเป็นหุ้นไม่ใช่ตัวเงิน หุ้นนั้นก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้ตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 39 เมื่อเป็นเงินได้พึงประเมิน โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้เสียภาษีเงินได้พึงประเมินนำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
การจ่ายเงินได้พึงประเมินไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินจริง ๆ เพราะคำนวณค่าหุ้นออกมาได้แน่นอนแล้วว่า เป็นเงินจำนวนเท่าใด ย่อมคิดหักเป็นภาษีออกมาได้ มิฉะนั้นแล้วอาจมีการหลีกเลี่ยงภาษี คือแทนที่จะจ่ายเป็นตัวเงิน ก็จ่ายเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเสีย
เจ้าพนักงานประเมินมีคำสั่งใหม่ที่ กค. 0804/334 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2508 ถึงโจทก์ แจ้งยกเลิกคำสั่งเดิมและสั่งให้โจทก์นำเงินภาษีเงินได้ไปชำระ หาใช่เป็นการประเมินภาษีไม่ หากเป็นการแจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินค่าภาษีไปชำระ เท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเอง คำสั่งเช่นว่านี้มิได้ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้องอย่างไร โจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.รัษฎากร ม. 20, ม. 21, ม. 23, ม. 24, ม. 30, ม. 39, ม. 40, ม. 44, ม. 70
ป.พ.พ. ม. 99, ม. 1103, ม. 1117


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2517
ผู้ขอรับชำระหนี้กับจำเลยตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อจะจัดตั้งบริษัททำการจัดสรรที่ดินและอาคารให้เช่าโดยให้ชื่อว่าบริษัทสยามอาคารซึ่งไม่มีคำว่าจำกัด ไว้ปลายชื่อและไม่ปรากฏว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือเพียงใช้ชื่อบริษัทแต่ความจริงเป็นหุ้นส่วน ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระเงินค่าหุ้นให้จำเลยรับไว้แล้ว และบริษัทได้มีการเริ่มงานไปบ้างแล้วโดยหุ้นส่วนทุกคนมอบให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียว ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงมิใช่บริษัทจำกัด แม้จะมิได้มีการจดทะเบียนก็จะถือว่ากิจการอันตกลงร่วมหุ้นกันนั้นยังไม่จัดตั้งขึ้นหาได้ไม่ จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1112 มาปรับแก่กรณีมิได้ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินค่าหุ้นคืนจากจำเลย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1012, ม. 1042, ม. 1098 (1), ม. 1103 (1), ม. 1112
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 91, ม. 94
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที