Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 11 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 11” คืออะไร? 


“มาตรา 11” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 11 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 11” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 11 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2564
สัญญาค้ำประกันตอนแรกกำหนดวงเงินค้ำประกันแน่นอนเป็นเงิน 45,000,000 บาท แต่ตอนต่อมากลับระบุให้รวมดอกเบี้ยที่ค้างชำระโดยไม่จำกัดความรับผิด อันเป็นการขัดแย้งกันไม่แน่ชัดว่าเป็นการค้ำประกันโดยจำกัดความรับผิดหรือไม่ กรณีมีข้อสงสัย ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 7 ในฐานะผู้บริโภคคู่กรณีฝ่ายที่จะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 แปลความได้ว่าสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเงินไม่เกิน 45,000,000 บาท
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 11


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2563
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำความผิด แต่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน รวม 57 กรรม และผู้ร้องมิได้กล่าวมาในคำร้องหรือนำสืบให้ชัดแจ้งว่าขอดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำความผิดวันใด ทั้งตามคำร้องมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในหนี้จากมูลละเมิดเป็นจำนวนเดียวซึ่งเป็นหนี้อันแบ่งแยกมิได้ และที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดก็เป็นหนี้จำนวนเดียว จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ว่าขอดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดครั้งสุดท้าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดครั้งแรกจึงเป็นการไม่ชอบ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 11


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10029/2560
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 7 ที่ระบุว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดชำระตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายผิดนัดทั้งหมด และยินยอมให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบังคับคดีได้ทันทีเต็มตามฟ้อง ซึ่งการบังคับคดีต้องเป็นการบังคับคดีในส่วนที่อีกฝ่ายผิดสัญญา แต่การที่โจทก์ไม่นำบุตรไปให้บิดาโจทก์ดูแล อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จำเลยมีสิทธิบังคับคดีเพื่อให้มีการบังคับให้โจทก์ส่งบุตรไปให้บิดาโจทก์ดูแลตามที่ระบุไว้ในสัญญา หาได้หมายความถึงโจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ไม่ เพราะนอกจากจะทำให้โจทก์และจำเลยต้องรับภาระเพิ่มขึ้นแล้ว การผิดสัญญาในข้อที่ไม่ต้องชำระด้วยเงิน กฎหมายกำหนดวิธีการบังคับคดีไว้แล้ว ทั้งสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 7 มีข้อความไม่รัดกุมถือว่าเป็นกรณีมีข้อสงสัย ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องว่า โจทก์ผิดนัดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 11, ม. 1548, ม. 1598/38
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที