Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1099 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1099 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1099” คืออะไร? 


“มาตรา 1099” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1099 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ หนังสือบริคณห์สนธินั้น ให้ทําเป็นต้นฉบับไว้ไม่น้อยกว่าสองฉบับ และให้ลงลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการ โดยมีพยานลงชื่อรับรองด้วยสองคน และให้นําฉบับหนึ่งไปจดทะเบียน
              ถ้าการจดทะเบียนบริษัทมิได้ทําภายในสามปีนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ให้หนังสือบริคณห์สนธินั้นสิ้นผล “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1099” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1099 ” ในประเทศไทย

 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2535
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้นการขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อมปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1099, ม. 1139, ม. 1199
ป.วิ.พ. ม. 85
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 123, ม. 146


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2522
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนเลขที่ 1430 ถึงแม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ แต่การจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนและนายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวง จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวัตถุประสงค์ของโจทก์ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายวัตถุประสงค์มาในฟ้องอีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1021, ม. 1022, ม. 1099
ป.วิ.พ. ม. 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1301/2522
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด จดทะเบียนเลขที่ 1430 ถึงแม้ว่าจะมิได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ แต่การจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียนและนายทะเบียนจะต้องแต่งย่อรายการไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ซึ่งตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นอันแก่บุคคลทั้งปวง จึงต้องถือว่าจำเลยทราบวัตถุประสงค์ของโจทก์ในหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายวัตถุประสงค์มาในฟ้องอีก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1021, ม. 1022, ม. 1099
ป.วิ.พ. ม. 172
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที