Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1098 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1098 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1098” คืออะไร? 


“มาตรา 1098” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1098 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ หนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องมีรายการดังต่อไปนี้ คือ
              (๑) ชื่อบริษัทอันคิดจะตั้งขึ้น ซึ่งต้องมีคำว่า “จำกัด” ไว้ปลายชื่อนั้นด้วยเสมอไป
              (๒) ที่สำนักงานของบริษัทซึ่งบอกทะเบียนนั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใดในพระราชอาณาเขต
              (๓) วัตถุที่ประสงค์ทั้งหลายของบริษัท
              (๔) ถ้อยคำสำแดงว่า ความรับผิดของผู้ถือหุ้นจะมีจำกัด
              (๕) จำนวนทุนเรือนหุ้นซึ่งบริษัทคิดกำหนดจะจดทะเบียนแบ่งออกเป็นหุ้นมีมูลค่ากำหนดหุ้นละเท่าไร
              (๖) ชื่อ สำนัก อาชีวะ และลายมือชื่อของบรรดาผู้เริ่มก่อการ ทั้งจำนวนหุ้นซึ่งต่างคนต่างเข้าชื่อซื้อไว้คนละเท่าใด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1098” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1098 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2531
บริษัท อ. มีวัตถุประสงค์กระทำการเป็นผู้สำรวจและจัดการให้เป็นที่ตกลงกันในการประนอมข้อพิพาทอันเกี่ยวกับการ สืบสวน การตรวจสอบในสิทธิหน้าที่หนี้สิน ข้อพิพาทและสิทธิเรียกร้องทั้งปวงซึ่งเกิดจากสัญญาประกันภัยทุกประเภท ฯลฯ ดังนี้ การรับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยแทนโจทก์จึงอยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท อ. บริษัท อ. มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 69, ม. 797, ม. 1098
ป.วิ.พ. ม. 60


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2522
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ค่ากระแสไฟฟ้าจำเลยที่ 2 ทำหนังสือตกลงรับชำระหนี้รายนี้และใช้หนี้นั้นไป 3 งวด และขอลดอัตราดอกเบี้ยเป็นการกระทำภายในวัตถุประสงค์ที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดรับโอนกิจการของจำเลยที่ 1 มาทำ จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดโดยการ แปลงหนี้ใหม่ ซึ่งศาลตีความในเอกสารประกอบพฤติการณ์แห่งคดีทั้งมวลโดยเพ่งเล็งเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าตัวอักษร
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 350, ม. 132, ม. 1098


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2519
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการทำการกู้ยืมเงินและให้กู้ยืมรับจำนำ จำนองสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์โดยมีหรือไม่มีหลักประกัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้สินทุกประเภททั้งในและนอกประเทศ บริษัทโจทก์ได้ตั้งวงแชร์และเป็นผู้ค้ำประกันลูกวง กล่าวคือ หากลูกวงผู้ประมูลแชร์ได้ไม่ชำระเงินค่าแชร์ให้แก่ลูกวงคนต่อไป บริษัทโจทก์จะชำระแทน ดังนี้ ถือได้ว่าบริษัทโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันการเล่นแชร์ซึ่งเป็นสัญญาชนิดหนึ่งที่บังคับได้ตามกฎหมาย และตรงกับวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ จึงหาเป็นการดำเนินกิจการนอกวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกวงได้รับเงินแชร์ไปแล้ว ไม่นำเงินมาชำระค่าแชร์ให้แก่ลูกวงคนอื่น และบริษัทโจทก์ได้ใช้เงินแทนแก่ลูกวงไป จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ใช้เงินคืนแก่บริษัทโจทก์ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดตามสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ และนอกจากนี้การที่บริษัทโจทก์จะมีอำนาจทำสัญญาค้ำประกันการเล่นแชร์ได้หรือไม่อย่างไร ก็เป็นเรื่องของทางราชการที่จะว่ากล่าวกับบริษัทโจทก์ว่าทำนอกวัตถุประสงค์หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับจำเลย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1804/2500)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 69, ม. 680, ม. 1098
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที