Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1097 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1097 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1097” คืออะไร? 


“มาตรา 1097” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1097 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใด ๆ ตั้งแต่สองคนขึ้นไปจะเริ่มก่อการและตั้งเป็นบริษัทจํากัดก็ได้ โดยเข้าชื่อกันทําหนังสือบริคณห์สนธิ และกระทําการอย่างอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ “

อ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง "จดทะเบียนบริษัท" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

ค้นหาคำปรึกษาจริง, บทความเพิ่มเติมเรื่อง "จดทะเบียนบริษัท" ได้ที่นี่ คลิกเลย !

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1097” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1097 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2565
พฤติการณ์ของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างมีเจตนายุติความเป็นผู้ถือหุ้นของโจทก์ที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 คงเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทจำเลยที่ 3 เพียง 2 คน เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัทจำเลยที่ 3 ต่างมีความขัดแย้งกันจนผู้ถือหุ้นคนหนึ่งต้องการออกจากการเป็นผู้ถือหุ้นเป็นผลให้จำนวนผู้ถือหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 3 ลดลงต่ำกว่าจำนวนผู้ถือหุ้นสามคนที่จะตั้งบริษัทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1097 ความขัดแย้งดังกล่าวย่อมทำให้บริษัทจำเลยที่ 3 ไม่สามารถประกอบธุรกิจต่อไป และเป็นปฏิปักษ์ต่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น กรณีถือว่ามีเหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัทจำเลยที่ 3 เพราะจำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสามคน ตามมาตรา 1237 (4) แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งเลิกบริษัทจำเลยที่ 3 แต่โจทก์ฟ้องขอคืนเงินลงทุนและทรัพย์สินของบริษัทจำเลยที่ 3 ส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งจะสามารถบังคับชําระได้เมื่อเลิกบริษัทและทำการชําระบัญชี เห็นความประสงค์ของโจทก์ได้ว่าต้องการให้ศาลสั่งเลิกบริษัทจำเลยที่ 3 เพื่อขอแบ่งทุนและทรัพย์สินคงเหลือและเมื่อกรณีต้องด้วยเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 3 จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งให้เลิกบริษัทจำเลยที่ 3 ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1097, ม. 1237 (4)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวา ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้ และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่า หากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 453, ม. 1096, ม. 1097, ม. 1113
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 172


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2514
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าไม้ที่จำเลยซื้อไปในระหว่างที่โจทก์ร่วมกันออกทุนเข้าหุ้นค้าไม้ไปหลาง ระหว่างเริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทจำกัด จำเลยให้การรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริง แต่อ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาส่งไม้ไม่ครบ มิได้ต่อสู้ว่าบริษัทเป็นคู่สัญญา ไม่มีประเด็นว่าหนี้สินตามฟ้องเป็นของบริษัทหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีได้ แม้จะปรากฏต่อมาว่าบริษัทนั้นได้จดทะเบียนแล้วก็ตาม
ผู้ซื้อกับผู้ขายทำสัญญากันให้ผู้ขายส่งไม้ที่ซื้อขายจากจังหวัดกาญจนบุรีถึงร้านค้าของผู้ซื้อที่จังหวัดพระนคร กรณีไม่ต้องด้วยลักษณะขนส่งทรัพย์สินซึ่งได้ซื้อขายกันไปยังที่แห่งอื่นนอกจากสถานที่อันพึงชำระหนี้ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องออกค่าขนส่ง
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาซื้อขายไม้กัน 2 ฉบับ ต่างวาระกัน โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าไม้ ซึ่งจำเลยค้างชำระตามสัญญาฉบับแรก จำเลยจะฟ้องแย้งว่าโจทก์ได้รับเงินค่าไม้ล่วงหน้าตามสัญญาฉบับหลังจากจำเลยและผิดสัญญาเป็นเหตุให้จำเลยเสียหาย ขอหักหนี้กับโจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ทั้งโจทก์ก็ยังมีข้อต่อสู้อยู่ (ว่าโจทก์มิได้ผิดสัญญาและจำเลยไม่เสียหาย) จำเลยจึงขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ในคดีที่โจทก์ฟ้องมิได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 177
ป.พ.พ. ม. 464, ม. 344, ม. 1097, ม. 1108, ม. 1110
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที