Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 109 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 109 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 109” คืออะไร? 


“มาตรา 109” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 109 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามบทบัญญัติในส่วนนี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนกับออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ
              (๑) การยื่นคำขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน
              (๒) ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การคัดสำเนาเอกสารและค่าธรรมเนียมการขอให้นายทะเบียนดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับสมาคม รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าว
              (๓) การดำเนินกิจการของสมาคมและการทะเบียนสมาคม
              (๔) การอื่นใดเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้
              กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 109” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 109 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 109 (เดิม), ม. 111 (เดิม), ม. 1356, ม. 1360, ม. 1474, ม. 1605


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2534
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านที่รับซื้อฝาก ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่งตามฟ้องซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยโดยผู้ร้องสอดได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ปลูกสร้างในระหว่างสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่คืนเป็นการปลูกสร้างโดยสุจริตโจทก์จะขับไล่ผู้ร้องสอดโดยไม่ใช้ค่าโรงเรือนไม่ได้ ขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอด หากจะขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินก็ให้โจทก์จ่ายค่าโรงเรือนดังกล่าวเป็นเงิน 50,000 บาท แก่ผู้ร้องสอด ดังนี้ หากความจริงเป็นดัง ที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างในคำร้อง บ้านเลขที่ ดังกล่าวย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์อาจต้องใช้ค่าแห่งที่ดิน ที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้ร้องสอด หรือผู้ร้องสอดอาจมีสิทธิรื้อถอนโรงเรือนนั้นไปก็ได้จึงเป็นการ จำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อ ยังให้ได้รับ ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ชอบที่ศาลชั้นต้น จะ อนุญาตอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านทั้ง 5 หลังตามฟ้องแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ดังนั้น หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไปไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 109, ม. 1310
ป.วิ.พ. ม. 57 (1), ม. 243


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3305/2534
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินและบ้านที่รับซื้อฝาก ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่งตามฟ้องซึ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่โจทก์รับซื้อฝากจากจำเลยโดยผู้ร้องสอดได้รับอนุญาตจากจำเลยให้ปลูกสร้างในระหว่างสัญญาขายฝากยังไม่ครบกำหนดการไถ่คืนเป็นการปลูกสร้างโดยสุจริต โจทก์จะขับไล่ผู้ร้องสอดโดยไม่ใช้ค่าโรงเรือนไม่ได้ ขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ ขอให้ศาลพิพากษาว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องสอด หากจะขับไล่ผู้ร้องสอดออกจากที่ดินก็ให้โจทก์จ่ายค่าโรงเรือนดังกล่าวเป็นเงิน 50,000 บาท แก่ผู้ร้องสอด ดังนี้ หากความจริงเป็นดังที่ผู้ร้องสอดกล่าวอ้างในคำร้อง บ้านเลขที่ดังกล่าวย่อมไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์อาจต้องใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะการสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้ร้องสอด หรือผู้ร้องสอดอาจมีสิทธิรื้อถอนโรงเรือนนั้นไปก็ได้จึงเป็นการจำเป็นที่ผู้ร้องสอดต้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) ชอบที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาขับไล่จำเลยและบริวารออกจากบ้านทั้ง 5 หลังตามฟ้องแล้วคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้น หากศาลฎีกาจะมีคำสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาใหม่ทั้งหมด ก็จะทำให้คดีดังกล่าวข้างต้นต้องล่าช้าไปไม่เป็นประโยชน์แก่คู่กรณี ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ผู้ร้องสอดไปฟ้องเป็นคดีใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 109, ม. 1310
ป.วิ.พ. ม. 57 (1), ม. 243
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที