“มาตรา 108 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 108” คืออะไร?
“มาตรา 108” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 108 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับสมาคมที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ หรือจะขอให้นายทะเบียนคัดสำเนาเอกสารดังกล่าว พร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน และเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้วให้นายทะเบียนปฏิบัติตามคำขอนั้น “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 108” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 108 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14/2534
ที่ดินพิพาทที่โจทก์ครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินภายในแนวเขตหวงห้ามตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน โจทก์ปลูกต้นกล้วยไว้ในที่ดินพิพาท ต้นกล้วยเป็นไม้ล้มลุกไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน โจทก์จึงเป็นเจ้าของต้นกล้วยเหล่านั้นจำเลยที่ 5 เข้าไปไถที่พิพาททั้ง ๆ ที่รู้แล้วว่าต้นกล้วยที่ปลูกอยู่ในที่พิพาทเป็นของโจทก์ ทำให้ต้นกล้วยเสียหาย จึงมีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.อ. ม. 359
ป.พ.พ. ม. 108
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 108, ม. 456
ป.วิ.พ. ม. 288
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ม. 16 ทวิ, ม. 16 ตรี
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตก ทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตก เป็นของผู้ร้องไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 108, ม. 456
ป.วิ.พ. ม. 288
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ม. 16 ทวิ, ม. 16 ตรี