“มาตรา 107 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 107” คืออะไร?
“มาตรา 107” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 107 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด จะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคมนั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคมหรือมูลนิธิ หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสาธารณกุศล ตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคม หรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตกเป็นของแผ่นดิน “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 107” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 107 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2535
โจทก์นำยึดที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดพร้อมตึกซึ่งไม่มีหมายเลขบ้าน ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทและตึกที่ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมีเพียงพยานบุคคลมาสืบและคำเบิกความของพยานเหล่านั้นไม่น่าเชื่อพยานผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นเอกสารมหาชนและมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ส่วนตึกที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทย่อมถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2534
โรงเรือนซึ่งปลูกสร้างลงในที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 109 หรือ 1312 โจทก์ซื้อที่ดินซึ่งมีบ้านพิพาทปลูกอยู่ บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและตก เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โจทก์อีกเมื่อโจทก์ครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นของตนเอง กรณีไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทของโจทก์ ดังนี้โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 107, ม. 1382
ป.วิ.พ. ม. 55
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2533
จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทบนที่ดินส่วนตัวของตน แม้สามีจะช่วยออกเงินในการปลูกสร้างด้วยถึงหนึ่งในสาม แต่ตามพฤติการณ์เป็นการช่วยเหลือกันฉันสามีภริยา หาใช่เป็นการร่วมลงทุนปลูกบ้านพิพาทด้วยไม่ ดังนี้บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ปลูกสร้างบ้านพิพาทในระหว่างสมรสจึงไม่ทำให้บ้านพิพาทเป็นสินสมรสอันจะเป็นทรัพย์มรดกของสามีครึ่งหนึ่งด้วย.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 107, ม. 1471 (1), ม. 1474 (1)