Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1064 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1064 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1064” คืออะไร? 


“มาตรา 1064” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1064 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะจดทะเบียนก็ได้
              การลงทะเบียนนั้น ท่านบังคับให้มีรายการดังนี้ คือ
              (๑) ชื่อห้างหุ้นส่วน
              (๒) วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
              (๓) ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสาขาทั้งปวง
              (๔) ชื่อและที่สำนักกับทั้งอาชีวะของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คน ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดมีชื่อยี่ห้อ ก็ให้ลงทะเบียนทั้งชื่อและยี่ห้อด้วย

 


              (๕) ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ในเมื่อได้ตั้งแต่งให้เป็นผู้จัดการแต่เพียงบางคน
              (๖) ถ้ามีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการประการใดให้ลงไว้ด้วย
              (๗) ตราซึ่งใช้เป็นสำคัญของห้างหุ้นส่วน
              ข้อความซึ่งลงทะเบียนนั้น จะลงรายการอื่น ๆ อีกอันคู่สัญญาเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบด้วยก็ได้
              การลงทะเบียนนั้น ต้องลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และต้องประทับตราของห้างหุ้นส่วนนั้นด้วย
              ให้พนักงานทะเบียนทำใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนส่งมอบให้แก่ห้างหุ้นส่วนนั้นฉบับหนึ่ง
มาตรา ๑๐๖๔/๑๑  หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นคนหนึ่งคนใด การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้จัดการอื่นนั้น
              ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนมีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว ให้หุ้นส่วนผู้จัดการที่จะลาออกจากตำแหน่งแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดทราบเพื่อนัดประชุมและพิจารณาตั้งผู้จัดการคนใหม่ พร้อมกับแนบใบลาออกไปด้วย การลาออกมีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงหุ้นส่วนผู้นั้น
              หุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้
มาตรา ๑๐๖๔/๒๒  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการ ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนนำความไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง “


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1064” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1064 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3434/2538
ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทข้อ 3ระบุว่า ข.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ข้อ 4 ระบุว่า ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไม่มี แสดงว่าในหนังสือรับรองดังกล่าวมิได้บังคับว่าเมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการลงชื่อแล้วต้องมีตราสำคัญของโจทก์ประทับไว้ด้วยจึงจะกระทำการแทนโจทก์ได้ ดังนั้น สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสอง ที่ ข.หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อโจทก์โดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ย่อมเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1064
ป.วิ.พ. ม. 55


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2536
ตามหนังสือรับรองปรากฏว่า ส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ และ ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลย ดังนี้ ข้อที่โจทก์อ้างว่าการสลักหลังดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ เพราะ ส. ลงลายมือชื่อไปโดยไม่ได้ปรึกษาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งและต้องประทับตราของโจทก์นั้นเป็นข้อจำกัดอำนาจที่มิได้ปรากฏในหนังสือรับรอง จึงไม่อาจยกขึ้นยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1023, ม. 1064, ม. 1078


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2532
ตราสำคัญของบริษัทโจทก์ที่ประทับในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตราสำคัญซึ่งได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แม้จะมีขนาดเล็กกว่าแต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ และเป็นตราที่โจทก์ใช้ในกิจการทั่ว ๆ ไปเป็นประจำทั้งกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ยืนยันว่าเป็นผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบแล้ว.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 75, ม. 1064, ม. 1111, ม. 1144
ป.วิ.พ. ม. 47
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที