“มาตรา 106 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 106” คืออะไร?
“มาตรา 106” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 106 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม ให้มีการชำระบัญชีสมาคมและให้นำบทบัญญัติในบรรพ ๓ ลักษณะ ๒๒ ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีสมาคมโดยอนุโลม “
3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 106” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 106 ” ในประเทศไทย
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2535
ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโดยเฉพาะ จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ และ พ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไว้ แสดงว่าใบอนุญาตตั้งสถานบริการเป็นใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้จะต้องพิจารณาออกให้เฉพาะตัวผู้ขออนุญาต และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในกฎหมายนี้เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจฟ้อง ขอให้บังคับโอนใบอนุญาตให้แก่กันได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 106, ม. 797
ป.วิ.พ. ม. 55
พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ม. 4, ม. 6
2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2531
ผู้ครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นจะแย่งการครอบครองทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 เสียก่อน
การที่ ห.ผู้ครอบครองที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของร.แทนทายาทของ ร. แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้ขอและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ยังถือไม่ได้ว่าห. ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของ ร. ว่าตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนอีกต่อไป แต่การที่ ห. เอาที่ดินและบ้านพิพาททั้งหมดไปจำนองธนาคารในเวลาต่อมา แล้ว ส.ทายาทของร.ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 และบิดาโจทก์ที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองให้แล้วรับจำนองต่อเสียเองนั้น ถือได้ว่า ห. ได้บอกกล่าวโดยการกระทำต่อ ส.ตั้งแต่วันที่จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับส.แล้วว่า ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองแทน ส.เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครองเมื่อ ส.และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของส. มิได้ฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานภายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1375 บ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบก็ย่อมตกเป็นของ ห. ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนที่ดินและบ้านพิพาทได้.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 106, ม. 1375, ม. 1381
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2531
ผู้ครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นจะแย่งการครอบครองทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 เสียก่อน การที่ ห. ผู้ครอบครองที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของร.แทนทายาทของร.แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้ขอและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ยังถือไม่ได้ว่า ห. ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของร.ว่าตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนอีกต่อไป แต่การที่ห.เอาที่ดินและบ้านพิพาททั้งหมดไปจำนองธนาคารในเวลาต่อมา แล้วส.ทายาทของร.ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 และบิดาโจทก์ที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองให้แล้วรับจำนองต่อเสียเองนั้น ถือได้ว่า ห. ได้บอกกล่าวโดยการกระทำต่อ ส.ตั้งแต่วันที่จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับส. แล้วว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองแทน ส.เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครองเมื่อ ส.และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของส. มิได้ฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานภายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1375 บ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบก็ย่อมตกเป็นของ ห. ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนที่ดินและบ้านพิพาทได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 106, ม. 1375, ม. 1381