Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-08-08

มาตรา 1058 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1058 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1058” คืออะไร? 


“มาตรา 1058” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1058 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความในมาตรา ๑๐๕๗ หรือมาตรา ๑๐๖๗ เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้
              ในการแบ่งทรัพย์สินระหว่างห้างหุ้นส่วนกับผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถูกกำจัดนั้น ท่านให้ตีราคาทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนตามราคาที่เป็นอยู่ในเวลาแรกยื่นคำร้องขอให้กำจัด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1058” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1058 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2557
ป.พ.พ. มาตรา 1058 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่ง ซึ่งตามความในมาตรา 1057 หรือมาตรา 1067 เป็นเหตุให้ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนอกนั้นมีสิทธิจะเรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ไซร้ ในเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเหล่านั้นยื่นคำร้อง ท่านว่าศาลจะสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนผู้ต้นเหตุคนนั้นออกเสียจากห้างหุ้นส่วนแทนสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนก็ได้" กับมาตรา 1057 บัญญัติว่า "ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดร้องขอเมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ ศาลอาจสั่งให้หุ้นส่วนสามัญเลิกกันเสียก็ได้คือ (1) เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้ร้องฟ้องนั้น ล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งสัญญาหุ้นส่วนกำหนดไว้แก่ตน โดยจงใจหรือเลินเล่ออย่างร้ายแรง (2) เมื่อกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นจะทำไปก็มีแต่ขาดทุนอย่างเดียวและไม่มีหวังจะกลับฟื้นตัวได้อีก (3) เมื่อมีเหตุอื่นใด ๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้" บทบัญญัติสองมาตราดังกล่าวนี้ชี้ชัดถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายมุ่งประสงค์ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะสั่งให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนแทนการให้เลิกห้าง จึงได้กำหนดในมาตรา 1058 วรรคหนึ่ง ให้ชัดแจ้งว่าศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนแทนการเลิกห้างเพื่อคุ้มครองผู้เป็นหุ้นส่วนอันจะส่งผลก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องระบุว่า จำเลยล่วงละเมิดบทบังคับใด ๆ อันเป็นข้อสาระสำคัญซึ่งเป็นสัญญาหุ้นส่วน ตามมาตรา 1057 (1) คือ จำเลยได้ยักยอกเงินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ไป และโจทก์ที่ 1 ได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย ดังนี้ เมื่อการปรับใช้กฎหมายพึงต้องอนุวัตให้ต้องตามเจตนารมณ์ที่บัญญัติกฎหมายนั้นจึงไม่มีเหตุที่จะแปลกฎหมายในทางที่ไม่ให้อำนาจผู้เป็นหุ้นส่วนขอให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นที่เป็นเหตุให้เรียกให้เลิกห้างหุ้นส่วนแทนการขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนแต่เพียงอย่างเดียว ผู้เป็นหุ้นส่วนจึงอาจมีคำขอให้กำจัดผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นแทนการให้เลิกห้างหุ้นส่วนได้ ตามมาตรา 1058 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1080 วรรคหนึ่ง
การที่หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดหรือหลายคนฟ้องขอให้หุ้นส่วนอื่นออกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากมีเหตุอันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นเกี่ยวด้วยหุ้นส่วนอื่นนั้น อันเป็นเหตุให้หุ้นส่วนที่ไม่ได้กระทำผิดนั้นมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาล กรณีจึงเป็นข้อพิพาทโดยตรงในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันโจทก์ทั้งหกจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ หาใช่มีข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนแต่อย่างใด และหากศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดออกจากห้างแล้ว การดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนก็สามารถดำเนินการได้โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นยื่นสำเนาคำพิพากษาต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการต่อไป
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1057, ม. 1058 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2536
เมื่อทางไต่สวนได้ความว่า ห้างหุ้นส่วนที่ผู้ร้องกับนายสุวัฒน์เข้าหุ้นส่วนกันไม่มีเจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกเงินทดรองและค่าใช้จ่ายของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้างสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมีแต่เงินฝากอยู่ในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น การที่จะรื้อฟื้นให้พิจารณาเรื่องบัญชีของห้างหุ้นส่วนต่อไปก็คงไม่ได้ข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นจึงเห็นสมควรพิพากษาไปทีเดียว ให้แบ่งเงินทุนและผลกำไรโดยไม่ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีก่อนได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1027 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิ่งที่นำมาลงหุ้นด้วยกันมีค่าเท่ากัน ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกันก็ต้องเฉลี่ยแจกกำไรและทรัพย์สินที่มีอยู่ให้ผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1062 ผู้ร้องจึงมีสิทธิได้รับกึ่งหนึ่ง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1027, ม. 1057 (3), ม. 1058, ม. 1061, ม. 1062


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2514
โจทก์จะฟ้องขอคืนเงินที่ลงหุ้นไป โดยมิได้ขอให้มีการเลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชี หาได้ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1055, ม. 1056, ม. 1057, ม. 1058, ม. 1059, ม. 1060, ม. 1062, ม. 1063
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที