Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1056 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1056 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1056” คืออะไร? 


“มาตรา 1056” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1056 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าห้างหุ้นส่วนได้ตั้งขึ้นไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ท่านว่าจะเลิกได้ต่อเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้น และผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือน “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1056” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1056 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2550
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือโจทก์และจำเลยที่ 2 โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงจนไม่สามารถจะทำธุรกิจร่วมกันต่อไปได้ ทั้งหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดก็มีเพียงจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นหุ้นส่วนผู้ใดได้อีก จึงทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3)
เมื่อมีเหตุที่ก่อให้เกิดความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัดดำเนินกิจการ โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใดไม่ และไม่ใช่เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดกาลอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติ ประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีเหตุ จึงต้องบอกกล่าวความจำนงจะเลิกล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินของห้างหุ้นส่วนนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
โจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน ของจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันไม่อาจชำระบัญชีร่วมกันได้ และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 กำหนดเรื่องผู้ชำระบัญชีไว้ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง เมื่อเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมสมควรให้คนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียกับฝ่ายใดเป็นผู้ชำระบัญชี โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1056, ม. 1057, ม. 1251 วรรคสอง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2543
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือสัญญาร่วมลงทุนขึ้นเพื่อร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์ขายแบ่งผลกำไรกันเป็นสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญระหว่างสัญญาจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกห้างหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากที่ดินที่นำมาขายฝากไว้กับโจทก์และให้จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่โจทก์ได้ใช้ไปให้แก่โจทก์อันเป็นการแสดงเจตนาสนองรับการบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญของจำเลยแล้วโดยปริยาย สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันโดยเจตนาของคู่สัญญา มีผลให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันโดยชอบ กรณีมิใช่การขอเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่โจทก์ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลังเลิกห้างหุ้นส่วนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดินดังกล่าวได้การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 327, ม. 1056, ม. 1336


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7236/2543
โจทก์กับจำเลยทำสัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญเพื่อร่วมกันสร้างอาคารพาณิชย์ขายแบ่งผลกำไรกัน โดยโจทก์ลงหุ้นเป็นเงินค่าก่อสร้างจำเลยลงหุ้นเป็นที่ดิน ต่อมาจำเลยขายฝากที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ ระหว่างสัญญาจำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกห้างหุ้นส่วนกับโจทก์ โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนการขายฝากที่ดินที่นำมาขายฝากไว้กับโจทก์และให้จำเลยชำระเงินค่าก่อสร้างอาคารพาณิชย์ที่โจทก์ได้ใช้ไปให้แก่โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาสนองรับการบอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญของจำเลยแล้วโดยปริยาย สัญญาตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจึงเลิกกัน โดยชอบ กรณีมิใช่การขอเลิกห้างหุ้นส่วนโดยบทบัญญัติของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1056
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญเลิกกันแล้ว ข้อตกลงตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันระงับไม่มีผลบังคับอีกต่อไป ทั้งได้มีการตกลงกันให้จำเลยชำระเงินที่ได้ใช้ไป อันเป็นการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นภายหลัง เลิกห้างหุ้นส่วนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือว่าที่ดินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของ ห้างหุ้นส่วนสามัญอีกต่อไป โจทก์กับจำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้กันในที่ดินดังกล่าว อันจะทำให้โจทก์มีสิทธิบังคับเอาแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงมีสิทธิโอนขายที่ดิน ดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นการฉ้อฉลต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 237, ม. 1056, ม. 1061
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที