Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1054 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1054 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1054” คืออะไร? 


“มาตรา 1054” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1054 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ บุคคลใดแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนด้วยวาจาก็ดี ด้วยลายลักษณ์อักษรก็ดี ด้วยกิริยาก็ดี ด้วยยินยอมให้เขาใช้ชื่อตนเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือรู้แล้วไม่คัดค้านปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็นหุ้นส่วนก็ดี ท่านว่าบุคคลนั้นย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนเสมือนเป็นหุ้นส่วน
              ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดตายไปแล้ว และห้างหุ้นส่วนนั้นยังคงค้าต่อไปในชื่อเดิมของห้าง ท่านว่าเหตุเพียงที่คงใช้ชื่อเดิมนั้นก็ดี หรือใช้ชื่อของหุ้นส่วนผู้ตายควบอยู่ด้วยก็ดี หาทำให้ความรับผิดมีแก่กองทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อหนี้ใด ๆ อันห้างหุ้นส่วนได้ก่อให้เกิดขึ้นภายหลังมรณะนั้นไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1054” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1054 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5316/2559
จำเลยที่ 1 กับบริษัทต่างประเทศ คือบริษัท พ. และบริษัท ล. ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้ชื่อประกอบการว่า "กิจการร่วมค้า พ. และบริษัท พ. /บริษัท ล." และเข้าทำสัญญากับกรุงเทพมหานคร จากข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่า "กิจการร่วมค้า พ. และบริษัท พ. /บริษัท ล." ก็คือห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งจำเลยที่ 1 กับบริษัทต่างประเทศอีกสองบริษัทดังกล่าวร่วมกันกระทำในประเทศไทยนั่นเอง แม้หลังจากกิจการร่วมค้าฯ ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง จำเลยที่ 1 จะโอนสัดส่วนการลงทุนทั้งหมดในกิจการร่วมค้าฯ ให้แก่จำเลยที่ 2 แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่กิจการร่วมค้าฯ ทำสัญญากับกรุงเทพมหานครและยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจนกระทั่งเลิกกิจการ มีการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ มาโดยตลอด โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งกิจการร่วมค้าฯ ย่อมต้องทราบเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น กลับไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการไม่ยินยอมหรือคัดค้านการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ และเหตุในการประเมินภาษีคดีนี้เนื่องจากการกิจการร่วมค้าฯ มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและมิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วงระยะเวลาที่มีการใช้ชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นชื่อกิจการร่วมค้าฯ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ของกิจการร่วมค้าฯ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1054


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ การที่จำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ไม่มีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1054, ม. 1080


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2551
จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้น แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 4 เข้าไปดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1 ก็หามีผลให้จำเลยที่ 4 กลายเป็นหุ้นส่วนของจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ด้วย และแม้จำเลยที่ 4 จะยินยอมโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายให้ใช้ชื่อของตนระคนกับชื่อของห้างจำเลยที่ 1 ก็หาต้องรับผิดต่อโจทก์เสมือนเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1054 ประกอบมาตรา 1080 ไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1025, ม. 1054, ม. 1077, ม. 1080, ม. 1082
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที