Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1053 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1053 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1053” คืออะไร? 


“มาตรา 1053” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1053 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ห้างหุ้นส่วนซึ่งมิได้จดทะเบียนนั้น ถึงแม้จะมีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนหนึ่งในการที่จะผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่น ๆ ท่านว่าข้อจำกัดเช่นนั้นก็หามีผลถึงบุคคลภายนอกไม่ “

 


2 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1053” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1053 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495
การรวมทุนกันประกอบกิจการมีและทำสวนยาง อีกนัยหนึ่งก็คือการร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ(โดยมิได้จดทะเบียน)ก็ตามความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิ์รวมในอสังหาริมทรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกันคือที่ดินสวนยางและส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไปแก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้วภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการอันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 456, ม. 797, ม. 1012, ม. 1025, ม. 1050, ม. 1053, ม. 1299, ม. 1361


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495
การรวมทุนกันประกอบกิจการมี และสวนยาง อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ (โดยมิได้จดทะเบียน) ก็ตาม ความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมททรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกัน คือที่ดินสวนยาง
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 456, ม. 797, ม. 1012, ม. 1025, ม. 1050, ม. 1053, ม. 1299, ม. 1361.
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที