Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1049 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1049 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1049” คืออะไร? 


“มาตรา 1049” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1049 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1049” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1049 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2543
จำเลยร่วมกับ ส. และ ม. เป็นหุ้นส่วนกันในสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญอันมิได้จดทะเบียนทำธุรกิจในกิจการรับถมดินให้แก่จำเลย แต่จำเลยร่วมเพียงผู้เดียวทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างถมดินให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง ตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ส. และ ม. มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้บุคคลทั้งสองจะเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ ส. และ ม. จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าว่าจ้างถมดินตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินจากจำเลยตามสัญญานี้จึงเป็นของจำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น จำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ให้แก่โจทก์ได้ เมื่อจำเลยร่วมได้ทำหนังสือลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 โอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินที่จำเลยร่วมมีสิทธิได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ โดยจำเลยร่วมจะไม่ยกเลิกเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตามหนังสือยืนยันหนี้เอกสารหมาย จ. 5 และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 จำเลยได้รับแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์แล้ว อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยร่วมในการรับเงินค่าจ้างถมดินจากจำเลยจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น จำเลยร่วมย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป ภายหลังจากนั้นจำเลยร่วมหามีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้นหนังสือขอเบิกเงินค่าจ้างถมดินส่วนที่เหลือ ที่จำเลยร่วมทำให้ไว้ต่อจำเลยในภายหลังว่าไม่ประสงค์จะมอบหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นมารับแทนโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์นั้นหามีผลไม่
จำเลยและจำเลยร่วมได้ร่วมกันทำบันทึกยอมให้จำเลยปรับจำเลยร่วมในกิจการรับถมดินภายหลังจากที่จำเลยร่วมโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินให้แก่โจทก์แล้วเพื่อเอาเปรียบโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจที่จะปรับโจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 303 วรรคหนึ่ง, ม. 306 วรรคหนึ่ง, ม. 1049


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3312/2541
ตามที่ปรากฏในสำนวนจำเลยไม่เคยกล่าวถึงการเป็น หุ้นส่วนกับผู้ร้องหรือการเป็นตัวแทนของผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อ จึงไม่อาจจะทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกอันมีต่อตัวแทนก่อนที่จะรู้ว่าผู้ร้องเป็นตัวแทนนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 806 และในเรื่องหุ้นส่วนผู้ร้องผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏ ชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ตามมาตรา 1049 เช่นกัน สิทธิของผู้ร้อง ที่อาจมีอยู่หรือได้มาก็โดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่มีอยู่และ แสดงออกต่อบุคคลภายนอกหรือโจทก์เท่านั้นเสมือนหนึ่ง เป็นบุคคลคนเดียวกันกับจำเลยหรือเป็นบริวารของจำเลย ดังนั้น ในชั้นบังคับคดีผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างอำนาจพิเศษตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา(3) มาใช้ยันแก่โจทก์ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 806, ม. 1049
ป.วิ.พ. ม. 296 จัตวา


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2540
โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาใด ๆ กับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และแม้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ที่ 2 ในกิจการค้าขายดังนี้โจทก์ที่ 2 ถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินจำเลย เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าของรวมแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ตามสัญญาจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีว่า ในการซื้อขายที่ดินโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยให้แก่ที่ดินของจำเลยในส่วนที่เหลือ โดยจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ในวันทำสัญญากลับไม่มีข้อตกลงดังกล่าว โจทก์บอกว่าจะไปจดทะเบียนภารจำยอมให้ในภายหลัง แต่แล้วกลับไม่ยอมจดทะเบียนภารจำยอมให้ตามข้อตกลงนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากสัญญา เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เงินกู้และดอกเบี้ยรวมทั้งค่าธรรมเนียมออกตั๋วแลกเงินในการที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการตามโครงการตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ และค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียง มิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นเจ้าของรวมตามส่วนที่ได้ซื้อจากจำเลยตามสัญญาแล้ว
ความเสียหายในส่วนของกำไรที่คาดว่าจะได้จากการปลูกบ้านจัดสรรขายซึ่งเป็นเพียงความหวังของโจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้กำไรดังที่คาดหมายหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
การที่โจทก์ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อจากจำเลยไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้ ความเสียหายในส่วนนี้จึงเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของจำเลยแม้ว่าจะยังฟังไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 222, ม. 456, ม. 1049
ป.วิ.พ. ม. 55, ม. 94 (ข)
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที