Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1044 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1044 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1044” คืออะไร? 


“มาตรา 1044” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1044 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันส่วนกำไรก็ดี ส่วนขาดทุนก็ดี ของผู้เป็นหุ้นส่วนทุก ๆ คนนั้น ย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1044” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1044 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8779/2552
ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 83 วรรคหนึ่ง หมายถึงผู้ที่จะได้ประโยชน์ตามสิทธิใดๆ ของตนในที่ดินนั้น และอาจจะฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินได้ตามสิทธิใดๆ ที่ตนมีอยู่และอาจจะเสียประโยชน์ในที่ดินหากมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนอย่างหนึ่งอย่างใดในที่ดินนั้นก่อนที่จะไปฟ้องร้องให้บังคับให้มีการจดทะเบียน หรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนตามสิทธิของตน ผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขออายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินดังกล่าวจึงไม่จำต้องเป็นผู้มีสิทธิเสมือนหนึ่งผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 และไม่จำต้องมีส่วนได้เสียผูกพันกับที่ดินโดยตรง ทั้งไม่จำต้องฟ้องร้องเอาที่ดินเป็นของตนเองหรือฟ้องร้องให้ศาลบังคับให้ทำการจดทะเบียน หรือให้เปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรง และคำพิพากษาก็ไม่จำต้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนโดยตรงตามที่โจทก์ฎีกา หากคำขอและผลของคำพิพากษานั้นบังคับให้กระทำการใดอันจะนำไปสู่การจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในที่ดินที่ขออายัดแล้ว ก็ย่อมอยู่ในบังคับบทบัญญัติตามมาตรา 83 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.ที่ดิน ที่ว่า "อันอาจจะฟ้องบังคับให้มีการจดทะเบียนหรือให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน" ในกรณีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1026 ส่วนกำไรก็ดีส่วนขาดทุนก็ดีของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมเป็นไปตามส่วนที่ลงหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1044 เมื่อหุ้นส่วนเลิกกันและมีการชำระบัญชีจะต้องนำสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนมาชำระหนี้ค้างชำระแก่บุคคลภายนอก ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปเพื่อจัดการค้าของห้าง และคืนทุนทรัพย์ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนได้ลงเป็นหุ้นถ้ายังมีทรัพย์สินอยู่อีกเท่าไรก็ให้เฉลี่ยแจกเป็นกำไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1062 ดังนั้น การฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชี ผลของคำพิพากษาที่ให้เลิกห้างหุ้นส่วนและชำระบัญชีจึงอาจมีผลให้ต้องมีการจดทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินอันเป็นสินทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษานั้นเองผู้เป็นหุ้นส่วนจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะขออายัดที่ดินของห้างหุ้นส่วนเพื่อไปฟ้องร้องขอให้เลิกหุ้นส่วนและชำระบัญชีได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1026, ม. 1044, ม. 1062, ม. 1300
ป.ที่ดิน ม. 83 วรรคหนึ่ง


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2520
โจทก์ฟ้องขอให้เลิกกิจการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนโดยกล่าวไว้ในฟ้องว่า ในการเข้าหุ้นส่วนค้าที่ดินและตึกแถวกันนี้จำเลยตกลงแบ่งกำไรให้โจทก์ร้อยละ 60 จำเลยขายที่ดินและตึกแถวไปหลายห้องไม่แบ่งกำไรให้โจทก์ ขอให้พิพากษาเลิกกิจการห้างหุ้นส่วนและตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่หุ้นส่วน ศาลได้กำหนดประเด็นว่าโจทก์กับจำเลยเป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ ตกลงแบ่งผลกำไรกันเท่าใด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกหุ้นส่วนกันหรือไม่ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์จำเลยประสงค์จะแบ่งปันกำไรกันอย่างไรจึงเป็นประเด็นวินิจฉัย ศาลพิพากษาให้แบ่งกำไรกันตามที่พิจารณาได้ความได้
ในชั้นแรก โจทก์ซื้อที่ดินจากจำเลยมาดำเนินการตามโครงการของโจทก์นั้น โจทก์ต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยร้อยละ 40 ครั้นเมื่อโจทก์ดำเนินการต่อไปไม่ได้ เพราะขาดทุนหมุนเวียน จนจำเลยต้องเข้ามาร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยสัญญาเข้าหุ้นส่วนระบุว่าการแบ่งผลประโยชน์ที่โจทก์จะได้รับให้เป็นไปตามแนวข้อตกลงของสัญญาซื้อที่ดิน "แนวข้อตกลง"จึงมีความหมายว่าจะต้องแบ่งกำไรสุทธิให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินร้อยละ 40 อย่างเดิมเสียก่อน กำไรที่เหลืออีกร้อยละ 60 จึงแบ่งกันระหว่างโจทก์จำเลยผู้เป็นหุ้นส่วนกันตามส่วนของเงินที่ลงหุ้น
โจทก์ขอให้ศาลตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี ถึงแม้จำเลยจะมิได้คัดค้านเกี่ยวกับตัวผู้ชำระบัญชีไว้ แต่จำเลยได้ให้การปฏิเสธว่า โจทก์จำเลยมิได้เป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อจำเลยปฏิเสธในเรื่องหุ้นส่วนเสียแล้ว ก็ไม่จำต้องกล่าวถึงตัวผู้ชำระบัญชี จะถือว่าจำเลยเห็นชอบให้ ค.เป็นผู้ชำระบัญชีหาได้ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นตั้ง ค.เป็นผู้ชำระบัญชี จำเลยก็ได้อุทธรณ์ฎีกาต่อมาคัดค้านว่าไม่ควรตั้ง ค. เป็นผู้ชำระบัญชี และเป็นทนายโจทก์มีส่วนได้เสียโดยตรงกับโจทก์และไม่มีความรู้ความสามารถในการชำระบัญชี ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้และเห็นว่า เมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจร่วมกันตั้งผู้ชำระบัญชีได้ ศาลฎีกาจึงตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม เป็นผู้ชำระบัญชีต่อไป การชำระบัญชีจะได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยไม่ติดขัด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1012, ม. 1044, ม. 1061 วรรคสาม
ป.วิ.พ. ม. 142, ม. 177, ม. 225, ม. 247


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976 - 1978/2500
โจทก์ฟ้องว่าขายเฉพาะหุ้นให้แก่จำเลยไม่รวมทั้งเงินปันผล จำเลยต่อสู้ว่าขายเหมารวมทั้งเงินปันผล ดังนี้แม้ในสัญญาปรากฏชัดว่าโจทก์ขายหุ้นส่วนแก่จำเลยก็ตาม เมื่อคดีปรากฏว่ายังมิได้มีการปันผลหุ้นที่มีอยู่ กรณีอาจจะรวมทั้งทุนกำไรก็ได้แล้วแต่จะเป็นที่เข้าใจในระหว่างกัน ฉะนั้นการที่จำเลยจะนำสืบว่าเป็นการขายเหมาทั้งสิทธิและหน้าที่นั้นจึงเป็นการนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้มีความเข้าใจกันอยู่ จะว่าเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่ปรากฏชัดอยู่ในสัญญาแล้วยังไม่ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 94
ป.พ.พ. ม. 368, ม. 453, ม. 1044, ม. 1060, ม. 1200
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที