Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1035 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1035 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1035” คืออะไร? 


“มาตรา 1035” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1035 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าได้ตกลงกันไว้ว่าจะให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคนจัดการห้างหุ้นส่วนไซร้ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นก็ได้ แต่หุ้นส่วนผู้จัดการคนหนึ่งคนใดจะทำการอันใดซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการอีกคนหนึ่งทักท้วงนั้นไม่ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1035” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1035 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511 - 4512/2528
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินกิจการทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการแทน เมื่อ ช. มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับโจทก์ คิดบัญชีหนี้สินที่เกี่ยวค้างกัน และยังมอบงานบางอย่างให้จำเลยที่ 2 ทำ โดยให้ใช้ตราของห้างได้ในชั้นส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานก็ได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันนั้น ช. ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อศาลอนุญาต ช.ได้ทำสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 2 ตามคำร้องดังกล่าวมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยไว้อย่างชัดแจ้ง ช.ย่อมทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง และที่จำเลยที่ 2ต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 มาแต่แรก ช. ก็ไม่ได้คัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของ ช. ดังกล่าวแสดงว่า ช. ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีแทนตนในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 แล้วดังนั้นที่จำเลยที่ 2แต่งทนายความต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 69, ม. 75, ม. 1033, ม. 1035, ม. 1042, ม. 1080
ป.วิ.พ. ม. 60
ป.วิ.อ. ม. 7


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2519
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียนผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ 3 คน โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนจัดการห้างหุ้นส่วนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1035 หุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คนลงชื่อในใบแต่งทนายก็ใช้ได้หาจำเป็นต้องให้หุ้นส่วนผู้จัดการทั้งสามร่วมทำการแทนไม่
จำเลยขอเลื่อนการสืบพยานครั้งแรกอ้างว่าทนายความคนหนึ่งป่วยทนายความอีกคนหนึ่งไปเป็นพยานที่อื่น ครั้งที่สองและสามอ้างว่าจำเลยป่วยในวันสืบพยานทุกครั้งไม่มีพยานจำเลยมาศาล และจำเลยมิได้จัดการขอหมายเรียกพยานมาด้วย โดยเฉพาะในวันสืบพยานครั้งที่สองศาลสั่งว่าในนัดหน้าจะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีไม่ว่ากรณีใดๆ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยนั้นชอบแล้ว
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1035
ป.วิ.พ. ม. 40
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 916/2509
จำเลยรับฝากผ้าไปขายและซื้อเชื่อผ้าไปจากร้านศิริเอเซียซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน มีโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นหุ้นส่วนกัน แม้จำเลยจะอ้างว่าโจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องเรียกหนี้ในนามของตนเองแต่ผู้เดียว แต่ภายหลังโจทก์ร่วมขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม การฟ้องเรียกหนี้จึงเป็นการเรียกร้องเพื่อประโยชน์แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยทุกคน โจทก์และโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องได้
เมื่อจำเลยผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงและสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 163, ม. 172, ม. 1012, ม. 1015, ม. 1025, ม. 1035, ม. 1358, ม. 1359
ป.วิ.พ. ม. 55
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที