Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1025 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1025 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1025” คืออะไร? 


“มาตรา 1025” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1025 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1025” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1025 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2559
สัญญาข้อตกลงร่วมทำผลประโยชน์ เป็นสัญญาที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเข้ากันเพื่อทำกิจการขายดินลูกรังในที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงทุนในโครงการผู้เดียว ส่วนโจทก์เป็นผู้ดำเนินการขายดินลูกรัง โดยจำเลยที่ 1 จะได้รับเงินปันผลร้อยละ 40 ส่วนโจทก์ได้รับร้อยละ 60 ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเงิน ส่วนโจทก์เป็นผู้ลงแรงด้วยประสงค์เพื่อแบ่งกำไรอันจะพึงได้จากการดำเนินกิจการดังกล่าว จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 และเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเงินซื้อที่ดินพิพาทและเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 เพียงแต่นำที่ดินพิพาทมาให้ใช้เป็นการลงหุ้น มิได้ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเป็นการลงหุ้น โจทก์จึงมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 และได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจดทะเบียนเลิกการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เป็นเรื่องระหว่างจำเลยทั้งสาม มิได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้คืนทุน นั้น โจทก์เป็นหุ้นส่วนที่ลงหุ้นด้วยแรงงานเท่านั้น ไม่ได้มีเงินมาลงทุน และในสัญญาข้อตกลงร่วมทำผลประโยชน์ดังกล่าว ก็มิได้บอกว่าจะแบ่งทุนหรือตีราคาค่าแรงงานเป็นทุนเพื่อคืนให้แก่โจทก์ เมื่อห้างหุ้นส่วนเลิกกัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนทุนพร้อมดอกเบี้ย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1012, ม. 1025, ม. 1026, ม. 1029, ม. 1062 (3)


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14968/2558
โจทก์เป็นผู้จัดล็อกพื้นที่ในตลาดเพื่อให้ผู้ค้าเช่าแผงขายสินค้าและจัดทำบัญชีเพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการค้านั้น ดังนี้ ย่อมเท่ากับว่าโจทก์ได้ร่วมลงทุนหรือลงหุ้นเป็นแรงงานแล้ว เข้าลักษณะเป็นสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 และ 1025 ที่บัญญัติว่า สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนคือ สัญญาซึ่งบุคคลสองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ซึ่งสิ่งที่นำมาลงหุ้นนั้นจะเป็นเงิน หรือทรัพย์สินสิ่งอื่น หรือแรงงานก็ได้ ตามมาตรา 1026 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยในการประกอบกิจการค้าตลาดนัด แต่จำเลยไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ ทั้งมีพฤติการณ์กีดกันไม่ให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องในกิจการที่เข้าหุ้นกัน โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาหุ้นส่วนและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ระบุขอให้ศาลพิพากษาให้เลิกหุ้นส่วนสามัญและให้มีการชำระบัญชี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ห้างเลิกกัน โดยระบุวันที่เลิกอันเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่ได้ความว่าห้างดังกล่าวเลิกกันเมื่อใด จึงยังอยู่ในขอบเขตแห่งคำขอ เพียงแต่ระบุวันที่ห้างเลิกให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชีเท่านั้น ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 142
ป.พ.พ. ม. 1012, ม. 1025, ม. 1026


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14005/2558
ตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินระบุว่า ผู้ให้ยอมยกที่ดินทั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้รับโดยเด็ดขาดนับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป เป็นการยกให้โดยเสน่หาไม่มีค่าตอบแทนเพราะเป็นสามีภริยา แม้หนังสือดังกล่าวจะไม่ได้ระบุไว้ชัดว่าให้เป็นสินส่วนตัว แต่การที่โจทก์ยกที่ดิน 8 แปลง ดังกล่าวให้จำเลยก็เพื่อตอบแทนการที่จำเลยยอมยุติปัญหาที่โจทก์ไปมีภริยาอีกคนหนึ่ง จึงแปลเจตนาจากข้อความในเอกสารตามพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่า โจทก์ได้ให้เป็นสินส่วนตัวของภริยาเด็ดขาดแล้ว ประกอบกับพฤติการณ์ที่ภายหลังจำเลยและครอบครัวจำเลยได้ใช้ประโยชน์โดยอาศัยอยู่บนที่ดินดังกล่าวเรื่อยมาและมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างอื่นเพิ่มเติมโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีการโต้แย้งแต่อย่างใด ที่ดิน 8 แปลง นี้ไม่ใช่สินสมรส โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วย
การที่จำเลยและครอบครัวของจำเลยร่วมดำเนินกิจการของร้าน ม. เพื่อกระทำกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างร่วมกันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ซึ่งมีความประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้จากกิจการที่ทำนั้น เข้าลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยมีสมาชิกในครอบครัวของจำเลยทุกคนเป็นหุ้นส่วน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ประกอบมาตรา 1025 การที่โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกห้างหุ้นส่วนสามัญดังกล่าวจะขอใส่ชื่อร่วมในโฉนดที่ดิน 87 แปลง ซึ่งมีชื่อจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น เท่ากับเป็นการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนซึ่งไม่อาจกระทำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1040 เมื่อกรณีฟังได้ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนสามัญมิใช่ของจำเลย โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอใส่ชื่อร่วมได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1021, ม. 1025, ม. 1040, ม. 1471
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที