Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1011 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1011 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1011” คืออะไร? 


“มาตรา 1011” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1011 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ถ้าตั๋วเงินหายไปแต่ก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงิน ท่านว่าบุคคลซึ่งได้เป็นผู้ทรงตั๋วเงินนั้นจะร้องขอไปยังผู้สั่งจ่ายให้ ๆ ตั๋วเงินเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งก็ได้ และในการนี้ถ้าเขาประสงค์ก็วางประกันให้ไว้แก่ผู้สั่งจ่าย เพื่อไว้ทดแทนที่เขาหากจะต้องเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในกรณีที่ตั๋วเงินซึ่งว่าหายนั้นจะกลับหาได้
              อนึ่ง ผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดังว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้น อาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1011” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1011 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 738/2544
คำว่า "เนื้อความเดียวกัน" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1011 มิได้หมายความว่าจะต้องมีข้อความเหมือนเดิมทุกประการมิฉะนั้น วรรคสองของมาตราเดียวกันนี้คงไม่บัญญัติว่า หากผู้สั่งจ่ายรับคำขอร้องดั่งว่ามานั้นแล้ว หากบอกปัดไม่ยอมให้ตั๋วเงินคู่ฉบับเช่นนั้นอาจจะถูกบังคับให้ออกให้ก็ได้ ซึ่งการบังคับดังกล่าว เป็นกรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล หากจะต้องลงวัน เดือน ปี เหมือนเดิมทุกประการตั๋วเงินอาจขาดอายุความหรือไม่สามารถบังคับด้วยเหตุอื่น กฎหมายมิได้มีเจตนารมณ์เช่นนั้น คำว่าเนื้อความเดียวกัน จึงมีความหมายแต่เพียงว่า จะต้องมีสาระสำคัญใช้บังคับได้เช่นตั๋วเงินฉบับเดิม
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1011


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2538
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คของธนาคารนครหลวงไทยจำกัดสาขานครราชสีมา6295จำนวนเงิน178,500บาทโดยมีจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายก่อนเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสุดบรรทัด เพื่อให้เรียกเก็บเงินตามเช็คปรากฏว่าเช็คดังกล่าวสูญหายไประหว่างธนาคารดำเนินการเรียกเก็บเงินโจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้แล้วแต่จำเลยเพิกเฉยถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นกรณีที่เช็คหายไปก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงินโจทก์ผู้ทรงเช็คอาจร้องขอไปยังจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ออกเช็คเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1011ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 1011


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8055/2538
โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขานครราชสีมา 6295 จำนวนเงิน 178,500 บาท โดยมีจำเลยเป็นผู้สั่งจ่าย ก่อนเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำไปเข้าบัญชีของโจทก์ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนสุดบรรทัด เพื่อให้เรียกเก็บเงินตามเช็ค ปรากฏว่าเช็คดังกล่าวสูญหายไประหว่างธนาคารดำเนินการเรียกเก็บเงิน โจทก์ได้ติดต่อให้จำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้แล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นกรณีที่เช็คหายไปก่อนเวลาล่วงเลยกำหนดใช้เงิน โจทก์ผู้ทรงเช็คอาจร้องขอไปยังจำเลยผู้สั่งจ่ายให้ออกเช็คเป็นเนื้อความเดียวกันแก่ตนใหม่อีกฉบับหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา1011 ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องเรียกร้องให้จำเลยออกเช็คฉบับใหม่ให้ได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 1011
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที