Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1010 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1010 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1010” คืออะไร? 


“มาตรา 1010” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1010 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ เมื่อผู้ทรงตั๋วเงินซึ่งหายหรือถูกลักทราบเหตุแล้ว ในทันใดนั้นต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ออกตั๋วเงิน ผู้จ่าย ผู้สมอ้างยามประสงค์ ผู้รับรองเพื่อแก้หน้าและผู้รับอาวัล ตามแต่มี เพื่อให้บอกปัดไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น “

 


1 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1010” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1010 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2651/2529
จำเลยทั้งสามซื้อพลอยจากโจทก์แล้วออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าชำระหนี้ค่าพลอยให้โจทก์ต่อมาเช็คนั้นหายไปจากความครอบครองของโจทก์และมีผู้แก้ไขวันออกเช็คและนำเช็คดังกล่าวเบิกเงินไปในบัญชีของจำเลยที่ธนาคารไปดังนี้เมื่อพฤติการณ์ของโจทก์มีส่วนทำให้เกิดกรณีเช็คพิพาทถูกลักโจทก์มีส่วนผิดเป็นเหตุให้เช็คพิพาทหายไปและเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้วหนี้ที่จำเลยต้องชำระราคาพลอยให้แก่โจทก์ย่อมจะระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา321วรรคสามจำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดชำระค่าพลอยที่ซื้อไปจากโจทก์ให้แก่โจทก์อีกแม้เมื่อโจทก์ทราบว่าเช็คหายโจทก์ได้รีบบอกแก่จำเลยและธนาคารเพื่อไม่ให้ใช้เงินแล้วแต่ปรากฏว่าโจทก์บอกกล่าวแก่จำเลยหลังจากที่มีการใช้เงินตามเช็คแล้วการบอกกกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ หมายเหตุมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2529,5/2529.
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 194, ม. 321 วรรคสาม, ม. 486, ม. 1010, ม. 1011
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที