Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 101 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 101 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 101” คืออะไร? 


“มาตรา 101” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 101 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “  สมาคมย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ดังต่อไปนี้
              (๑) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ
              (๒) ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น
              (๓) ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้ว
              (๔) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก
              (๕) เมื่อสมาคมล้มละลาย
              (๖) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนตามมาตรา ๑๐๒
              (๗) เมื่อศาลสั่งให้เลิกตามมาตรา ๑๐๔ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 101” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 101 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15561/2557
การกีฬาแห่งประเทศไทยเพิกถอนใบอนุญาตที่ให้โจทก์จัดตั้งเป็นสมาคมแต่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติ ทั้งการเลิกสมาคมต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 101 (6) ที่บัญญัติให้สมาคมเลิกกันเมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมจากทะเบียน เมื่อไม่ปรากฏว่านายทะเบียนได้ถอนชื่อโจทก์ออกจากทะเบียน โจทก์จึงยังมีสถานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจฟ้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 83
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 83, ม. 101 (6)
พ.ร.บ.การกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ.2528 ม. 53, ม. 59


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4678/2543
ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันหรือจำเลยที่ 1 ขอมอบสิทธิการเช่าดังกล่าวให้ไว้แก่ผู้ให้กู้หรือโจทก์เป็นจำนำ และระบุไว้ชัดแจ้งว่า ในกรณีที่ผู้กู้หรือจำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่ชำระเงินตามกำหนดโจทก์มีสิทธิเอาทรัพย์ที่จำนำออกขายทอดตลาดได้ ดังนี้แม้ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าว สิทธิตามสัญญาเช่าไม่ใช่สังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 101 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำสัญญาจึงไม่อาจจำนำได้ก็ตาม แต่ตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 โดยชัดแจ้งว่าตกลงให้สิทธิการเช่าดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้และหากผู้กู้ผิดนัดโจทก์ต้องนำสิทธิการเช่าดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะทำหนังสือให้ไว้แก่เทศบาลเมืองขอนแก่นว่ายินยอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ก็เป็นเพียงหนังสือยืนยันว่าจำเลยที่ 1 จะโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวให้โจทก์หรือบุคคลอื่นเมื่อขายทอดตลาดสิทธิการเช่าดังกล่าวแล้วเท่านั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิการเช่าของจำเลยที่ 1 มาเป็นของโจทก์แล้วทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองขอนแก่นโดยไม่ได้ขายทอดตลาด ทั้งโจทก์ตีราคาสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไว้ล่วงหน้าโดยไม่ปรากฏราคาท้องตลาด จึงเป็นการเอาเปรียบและไม่เป็นธรรมแก่จำเลยที่ 1 การรับโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 101 (เดิม), ม. 680
ป.วิ.พ. ม. 55


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4532/2533
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ซึ่งโจทก์นำยึดคือบ้านตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขก ซึ่งมีราคารวมกันไม่เกินสองหมื่นบาทศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง สำหรับตู้เย็น โทรทัศน์ และชุดรับแขกมิใช่เป็นคดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224การที่ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงในอุทธรณ์ส่วนนี้จึงให้ จึงไม่ชอบ ต้องถือว่าปัญหาเกี่ยวกับตู้เย็น โทรทัศน์และชุดรับแขกยุติตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 101
ป.วิ.พ. ม. 224, ม. 249
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที