Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1006 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1006 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1006” คืออะไร? 


“มาตรา 1006” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1006 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงินเป็นลายมือปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้น “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1006” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1006 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12910/2553
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ จำเลยที่ 2 สลักหลักเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังส่งมอบต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 921, 940 ประกอบมาตรา 989 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงแยกจากกันตามฐานะแห่งตน ลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จะปลอมหรือไม่เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ ป.พ.พ. มาตรา 1006
จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้หมุนเวียนแล้วมีผู้นำเช็คไปกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 เอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความที่ลงในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900, ม. 914, ม. 940, ม. 989, ม. 1006


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 69, ม. 321, ม. 900, ม. 967, ม. 989, ม. 1006, ม. 1052, ม. 1080, ม. 1087
ป.วิ.พ. ม. 249


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5035/2528
ข้อสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันระหว่างโจทก์จำเลยมีว่า การสั่งจ่ายเช็คต้องลงลายมือชื่อสั่งจ่ายโดย ฉ. และ จ. ร่วมกันพร้อมทั้ง ประทับตราบริษัทโจทก์เป็นสำคัญ เช็คพิพาททั้งสองฉบับปรากฏว่า ลายมือชื่อจ.เป็นลายมือปลอมเช็คนั้นจึงเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เพราะมีแต่ฉ.ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแต่ผู้เดียวจำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ดังกล่าวย่อมไม่ทำให้เช็คนั้นหลุดพ้นและยังเป็นการผิดสัญญา เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวด้วย การที่ ฉ. ลง ลายมือชื่อแท้จริงในเช็คไว้ก็ไม่ทำให้โจทก์อยู่ในฐานเป็น ผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1006 การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็ค ที่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายปลอม โดยที่จำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า โจทก์ได้ทำปลอมหรือได้ร่วมกระทำปลอมแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายไปตามเช็คมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่าโจทก์ เป็นลูกหนี้จำเลยและโจทก์มีสิทธิให้จำเลยเพิกถอนรายการนั้นเสียได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและให้ จำเลยคืนเงินที่จำเลยจ่ายไปตามเช็คซึ่งลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเป็น ลายมือชื่อปลอม แล้วนำจำนวนเงินนั้นมาลงบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน แสดงว่าโจทก์เป็นลูกหนี้ กรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น อายุความจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 โจทก์ทราบเรื่องเมื่อเดือนธันวาคม 2518 และฟ้องคดีนี้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2525 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 164, ม. 857, ม. 902, ม. 987, ม. 1006, ม. 1008
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที