Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1003 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1003 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1003” คืออะไร? 


“มาตรา 1003” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1003 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในคดีผู้สลักหลังทั้งหลายฟ้องไล่เบี้ยกันเองและไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายแห่งตั๋วเงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน หรือนับแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1003” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1003 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4383/2545
เช็คพิพาทระบุชื่อโจทก์เป็นผู้รับเงินแต่ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่าผู้ถือ จึงเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย ย่อมโอนได้ด้วยการส่งมอบ ไม่จำต้องสลักหลัง หากมีการสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบด้วยมาตรา 989 บัญญัติว่าเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อเรียกเก็บเงินผ่านบัญชีของผู้อื่นซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์หรือโอนเช็คพิพาทไป เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้เช็คพิพาทกลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครอง โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 ไม่อยู่ในฐานะผู้สลักหลัง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เช็คพิพาทถึงกำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ไม่ใช่กรณีที่จะบังคับตามมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้สลักหลังถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ผู้ทรงเช็คที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็ค ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ทรงเช็คขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น ผู้ที่รับโอนเช็คมาโดยสุจริต หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินก็เป็นผู้ทรงเช็คที่มีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายให้ใช้เงินตามเช็คได้ โจทก์จะเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทขณะยื่นฟ้อง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 904, ม. 921, ม. 989, ม. 1002, ม. 1003
ป.วิ.พ. ม. 55


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/30, ม. 904, ม. 921, ม. 940 วรรคสาม, ม. 989, ม. 1003
ป.วิ.พ. ม. 27, ม. 172, ม. 225, ม. 249 ตาราง 2 ค่าธรรมเนียมอื่น


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2540
แม้พิจารณาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมายจ.8จ.9จ.11ถึงจ.17และจ.41ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2531ถึงเดือนพฤษภาคม2531เป็นหลักและโจทก์ผู้รับเงินซึ่งนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกำหนดเมื่อวันที่9กุมภาพันธ์2531และโจทก์ไปขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่27ตุลาคม2531ก็ตามอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(3)ซึ่งเป็นระยะเวลา8เดือนเศษกรณีระหว่างโจทก์กับบริษัทเป็นเรื่องระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้รับเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา982อายุความฟ้องบริษัทคือมาตรา1001ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา3ปีนับแต่วันตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงินอันมีผลไปถึงผู้ค้ำประกันด้วยและแม้โจทก์จะสลักหลังตั๋วนำไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยและโจทก์ใช้เงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมรับตั๋วคืนมาถึงวันที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเกินกว่า6เดือนก็ตามก็เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออก(ฉบับที่2)พ.ศ.2529อันเป็นการอนุเคราะห์ผู้ส่งออกให้ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ7ต่อปีตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์ไม่ใช่ผู้สลักหลังผู้เข้าถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1003ซึ่งมีอายุความ6เดือนคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/14 (3), ม. 982, ม. 1001, ม. 1003
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที