Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-01

มาตรา 1002 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 1002 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1002” คืออะไร? 


“มาตรา 1002” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1002 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในคดีที่ผู้ทรงตั๋วเงินฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้นภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือนับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ในกรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 1002” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 1002 ” ในประเทศไทย


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2563
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ก. เป็นจำเลย ภายหลังจากนายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกสมาคมและตั้งผู้ชำระบัญชีแล้ว การฟ้องของโจทก์จึงเป็นการฟ้องผิดตัว เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องสมาคมเพื่อนำมูลหนี้ไปฟ้องผู้ชำระบัญชีของสมาคมโดยศาลชั้นต้นมีสั่งจำหน่ายคดี กรณีจึงถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้โดยฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ชำระบัญชีให้ชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง การนับอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2558 ซึ่งเป็นวันที่เช็คถึงกำหนด โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 พ้นกำหนด 1 ปี ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 193/14 (2), ม. 193/17, ม. 1002


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2559
โจทก์และจำเลยร่วมกันเล่นแชร์ จำเลยประมูลแชร์ไปแล้วออกเช็คผู้ถือไม่ได้ลงวันที่ระบุจำนวนเงินค่าแชร์มอบให้ ว. ไว้ โจทก์ยังไม่ได้ประมูลแชร์และได้รับเช็คดังกล่าวจาก ว. โดยสุจริตเพื่อชำระค่าแชร์ ต่อมาแชร์ล้มและ ว. หลบหนี โจทก์หมดโอกาสที่จะประมูลแชร์ได้ต่อไป โจทก์ชอบที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่าแชร์ที่ต้องส่งคืนให้โจทก์ได้ทันทีเมื่อวงแชร์ล้มตั้งแต่งวดวันที่ 20 สิงหาคม 2553 โจทก์ชอบที่จะลงวันที่สั่งจ่ายเช็คเป็นวันที่ 25 สิงหาคม 2553 ตามข้อตกลงเล่นแชร์แล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่โจทก์ลงวันที่สั่งจ่ายเช็คเป็นวันที่ 25 มกราคม 2557 ซึ่งเป็นวันหลังจากวงแชร์ล้มเป็นเวลากว่า 3 ปี จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์กระทำการโดยสุจริตและจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็ค ตามความหมายแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 910 วรรคท้าย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2553 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 1002
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์โดยมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้น เป็นการไม่ถูกต้องและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงเห็นควรหยิบยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 142 (5), ม. 246, ม. 247
ป.พ.พ. ม. 910, ม. 1002


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2555
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ โดยบรรยายรายละเอียดของเช็คพิพาท และแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทและใบคืนเช็คมาท้ายฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยมาครบถ้วน จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 3 ฉบับ เพื่อแลกเงินสดไปจากโจทก์ จำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันที่ออกเช็คได้เอง โจทก์จึงมีสิทธิลงวันที่ในเช็คพิพาททั้ง 3 ฉบับได้ เมื่อโจทก์ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2548 ในเช็คพิพาททั้ง 3 ฉบับ อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยในคดีนี้ในวันที่ 2 สิงหาคม 2548 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 900, ม. 914, ม. 989, ม. 1002
ป.วิ.พ. ม. 172
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที