Banner blog website.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-05-29

มาตรา 100 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

“มาตรา 100 หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 100” คืออะไร? 


“มาตรา 100” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 100 “ คือ หนึ่งในมาตราของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าได้มีการนัดประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตาม หรือฝ่าฝืนข้อบังคับของสมาคมหรือบทบัญญัติในส่วนนี้ สมาชิก หรือพนักงานอัยการอาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ครั้งนั้นได้ แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ “

 


3 ตัวอย่างจริงของการใช้” มาตรา 100” หรือ “ป.พ.พ. มาตรา 100 ” ในประเทศไทย 


1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2558
การที่โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ลงมติออกเสียงในที่ประชุมลำพัง ซึ่งไม่ถูกต้องตรงตามกับความจริง เท่ากับโจทก์โต้แย้งว่ามติของที่ประชุมไม่ชอบ โจทก์ในฐานะสมาชิกของสมาคมย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ในคราวนั้นได้ ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 100 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวเกินหนึ่งเดือน มติที่ประชุมใหญ่จึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่ และการที่จำเลยทั้งห้าร่วมประชุมและลงมติในการประชุมดังกล่าวจึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 100, ม. 420


2. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2557
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน เป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยเสนอคดีเป็นคำร้องขอ อันเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ซึ่งการร้องขอในลักษณะเช่นนี้ ต้องมีกฎหมายสารบัญญัติรับรองให้ยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสมาคม คงมีแต่บัญญัติให้สมาชิกหรือพนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคมตามที่บัญญัติในมาตรา 100 ได้เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นการร้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคม มิใช่ขอเพิกถอนมติในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกสมาคม กรณีจึงไม่มีบทบัญญัติใดรับรองให้สมาชิกสมาคมหรือผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมของคณะกรรมการสมาคมเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท เมื่อผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิโดยคณะกรรมการสมาคมผู้คัดค้าน ก็ต้องใช้สิทธิฟ้องคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท แม้ภายหลังมีผู้คัดค้านเข้ามาก็ไม่ทำให้อำนาจการยื่นคำร้องขอที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้นเป็นคำร้องขอที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาได้
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.วิ.พ. ม. 55
ป.พ.พ. ม. 100


3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2539
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่อ้างว่าไม่ชอบด้วยข้อบังคับของสมาคมนั้นเมื่อปรากฎว่าขณะเกิดเหตุประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะ23ว่าด้วยสมาคมยังใช้บังคับอยู่จึงต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291ที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ อ. ทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมโดยมิได้เป็นสมาชิกสามัญของผู้คัดค้านซึ่งขัดต่อข้อบังคับของผู้คัดค้านหมวดที่6ข้อ30แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีสมาชิกคนหนึ่งคนใดของผู้คัดค้านหรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนมติที่ประชุมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1291มติที่ประชุมใหญ่ที่อ. เป็นประธานที่ประชุมจึงมีผลใช้บังคับหาเสียไปไม่
ฎีกาอื่นที่เกี่ยวข้องแยกตามกฎหมายและมาตรา
ป.พ.พ. ม. 1291, ม. 100
 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
cta
ปรึกษาทนายได้ตลอด 24 ชม.
เพียงกดปุ่ม ปรึกษาได้ทันที