Banner blog website1.png
เผยแพร่เมื่อ: 2023-06-19

หมวด ๖ อำนาจศาลและกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย (มาตรา ๑๔๙ - ๑๕๙)

ส่วนที่ ๑
อำนาจศาล

-------------------------

               มาตรา ๑๔๙  (ยกเลิก)

               มาตรา ๑๕๐  การยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอให้ล้มละลายให้ยื่นต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขต ไม่ว่าด้วยตนเองหรือโดยตัวแทนในขณะที่ยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีก่อนนั้น

               มาตรา ๑๕๑  ศาลต้องสอดส่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่โดยเรียบร้อย เพื่อการนี้ให้มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำชี้แจงในเรื่องบัญชีหรือเรื่องใด ๆ เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย หรือจะสั่งให้กระทำหรือละเว้นกระทำการตามที่เห็นสมควรได้

               มาตรา ๑๕๒  ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่กองทรัพย์สินในคดีล้มละลายโดยเจตนาร้ายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ศาลมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นส่วนตัวตามที่เห็นสมควรได้

 

ส่วนที่ ๒
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย

-------------------------

               มาตรา ๑๕๓  (ยกเลิก)

 

ปรึกษาปัญหาทางกฎหมายฟรี
ตลอด 24 ชั่วโมง

  • ทนายให้ ปรึกษามากกว่า 3000 ครั้ง
    ฟรีบนแพล็ตฟอร์ม
  • ฟรี และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
  • ปรึกษาได้ทุกเรื่องราว ไม่ระบุตัวตนของผู้ถาม

               มาตรา ๑๕๔  ในคดีที่ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวแล้ว ถ้าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง หรือขาดนัดพิจารณา ก่อนที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน

               มาตรา ๑๕๕  เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีหน้าที่ระวังประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียม ค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลายนั้น เพื่อประกันการรับผิดนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกประกันจากเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น

               มาตรา ๑๕๖  ถ้าเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขัดขืนหรือละเลยไม่ช่วยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หรือไม่ให้ประกันตามที่กล่าวไว้ในมาตรา ๑๕๕ ภายในกำหนดเวลาเจ็ดวัน นับแต่วันที่ได้รับคำแจ้งความ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วยความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหนี้คนอื่นเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนต่อไป

               มาตรา ๑๕๗  เมื่อได้ส่งแจ้งความนัดประชุมหรือแจ้งความใด ๆ ไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลายในราชอาณาจักรแล้ว แม้เจ้าหนี้บางคนจะยังไม่ได้รับ ก็ไม่ทำให้การประชุมหรือการนั้นเสียไป

               มาตรา ๑๕๘  ผู้มีส่วนได้เสียคนใดเห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ให้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคำคัดค้านแล้วให้สอบสวนและมีคำสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนการยึด ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลาสิบสี่วัน นับแต่วันได้ทราบคำสั่งนั้น เมื่อศาลได้รับคำร้องขอแล้ว ให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดา โดยเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาสู้คดี

               มาตรา ๑๕๙  เมื่อศาลได้พิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ให้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ


 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันหรือแม่นยำกว่า เราไม่รับประกันหรือรับประกันเกี่ยวกับความถูกต้อง ความสมบูรณ์ หรือความเพียงพอของข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้หรือข้อมูลที่เชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของรัฐ โปรดตรวจสอบแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการ
ข้อมูลอ้างอิงจากเว็บไซต์ : www.krisdika.go.th, deka.supremecourt.or.th
แนะนำโดย Legardy
mini_call_to_action_picture

ทนายความมากกว่า 500 คน ทั่วประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา เพียง 33 บาท