คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 421 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 172, 237, 248 วรรคสอง
จำเลยที่2เป็นภริยาของจำเลยที่3จำเลยที่2และที่3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่20,22และ24โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่1ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร35ที่ดินโฉนดเลขที่2021และโฉนดเลขที่2022อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร35 ที่พิพาทและทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3การที่จำเลยที่3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ใช้ถนนซอยเจริญนคร35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่783ไปยังตึกแถวเลขที่20โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่20ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลยแล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบคดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง ตึกแถวเลขที่20และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3เองและประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่3ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่าการที่จำเลยที่3ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337จำเลยที่3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม3ข้อคือข้อ(1)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบข้อ(2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ3,000บาทนับแต่วันที่1เมษายน2533จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาทและข้อ(3)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย100,000บาทแก่โจทก์หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ(1)ได้ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(1)ได้เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่2และที่3เองซึ่งจำเลยที่2และที่3ชอบที่จะทำได้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(3)ของโจทก์เพราะคำขอบังคับตามข้อ(2)และข้อ(3)เป็นคำขอต่อเนื่องกันอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2540
ประมวลรัษฎากร ม. 81 (1) (ณ), 89/1 วรรคหนึ่ง
การประกอบกิจการขนส่งของโจทก์นั้นโจทก์มีหัวรถพ่วงสำหรับลากจูง3คันกระบะพ่วง3คันรถกระบะหกล้อ1คันและรถกระบะสี่ล้อ1คันในการค้าสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์หากลูกค้าต้องการรับสินค้าจากโจทก์โดยตรงก็จะต้องชำระค่าสินค้าในราคาหนึ่งแต่ถ้าลูกค้าต้องการจะรับสินค้าจากคลังสินค้าในเครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัดจะมีราคาถูกกว่าทั้งนี้โจทก์จะออกใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่ลูกค้าเพื่อไปรับสินค้าเองหากลูกค้าไม่มีรถที่จะไปรับของจากคลังสินค้าโดยตรงโจทก์จะนำรถบรรทุกของโจทก์ไปรับจ้างลูกค้าเพื่อขนส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าและในการมารับสินค้าจากคลังสินค้าที่กรุงเทพมหานครโจทก์ต้องใช้รถเปล่าไปรับสินค้าดังนั้นโจทก์จึงติดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.เพื่อรับสินค้ายางพาราไปส่งยังกรุงเทพมหานครและบริษัทโจทก์ไม่มีป้ายติดว่ารับจ้างขนส่งสินค้าทั่วไปดังนี้การที่โจทก์รับขนส่งสินค้าในกรณีที่ลูกค้าไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าที่คลังสินค้าด้วยการนำรถของโจทก์เองไปบรรทุกสินค้าส่งให้แก่ลูกค้าและการที่โจทก์รับขนส่งสินค้ายางพาราจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังกรุงเทพมหานครนั้นเป็นการให้บริการเป็นครั้งคราวไม่ใช่ประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวรแม้จะฟังว่าโจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลแต่กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์เองจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81(1)(ณ)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย ประมวลรัษฎากรมาตรา89/1วรรคหนึ่งได้บัญญัติในเรื่องของเงินเพิ่มที่จะต้องเสียไว้2กรณีคือไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้และวรรคสองบัญญัติให้การลดเงินเพิ่มนั้นสามารถกระทำได้ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา3อัฏฐแห่งประมวลรัษฎากรและได้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในบทมาตราดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้งดเงินเพิ่มได้จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1304 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือไม่แล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทไม่ได้เป็นทางภารจำยอมห้ามจำเลยและบริวารใช้ทางพิพาทแต่เมื่อทางสาธารณะนั้นประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้ได้บุคคลใดก็ไม่มีอำนาจห้ามบุคคลอื่นใช้ทางสาธารณะดังนั้นแม้จำเลยจะสละข้อต่อสู้ที่ว่าถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะไปแล้วคงต่อสู้ว่าถนนพิพาทเป็นทางภารจำยอมเพียงประเด็นเดียวก็ตามหากข้อเท็จจริงปรากฏว่าถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าถนนพิพาทเป็นทางสาธารณะได้หาเป็นการนอกประเด็นไม่ นอกจากอาจารย์โรงเรียนประมาณ200คนและนักเรียนประมาณ3,000บาทแล้วยังมีราษฎรซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ในละแวกถนนพิพาทกว่า20ครัวเรือนได้ใช้ถนนพิพาทเป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะโดยบางคนใช้ถนนพิพาทมาตั้งแต่เริ่มสร้างเป็นเวลากว่า10ปีแล้วไม่มีผู้ใดห้ามปรามถือได้ว่าเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมได้ยกที่ดินส่วนที่ถนนพิพาทตัดผ่านให้เป็นทางสาธารณะอันเป็นการสละที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 537 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 224
การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาฟ้องเดิมและฟ้องแย้งแยกจากกันสำหรับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าหากจะนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนนั้นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ7,000บาทก็ตามยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์ปีที่3เดือนละ2,083บาทที่ดินพิพาทจึงมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,083บาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 467, 1336 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
การที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนในการซื้อขายว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่อีกโดยไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เพราะทำให้กรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองในโฉนดที่ดินดังกล่าวลดลงไปจากความเป็นจริงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ดำเนินการแก้ไขการจดทะเบียนนิติกรรมที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี ในเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดในการส่งมอบทรัพย์ที่ขาดตกบกพร่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 237 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142
คำฟ้องของโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ศาลเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารพร้อมที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน14,560,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวรวมถึงราคาพร้อมที่ดินที่ค้างชำระรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คซึ่งเป็นราคาอาคารพร้อมที่ดินที่ค้างชำระตามที่โจทก์ได้กล่าวบรรยายมาในฟ้องแล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่ค้างชำระตามจำนวนที่ระบุในเช็ค ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2524/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 218 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 15 วรรคหนึ่ง, 66 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 ม. 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 89
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89,106 ทวิ เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งมีโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขาย จำคุก 6 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 78 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 ทวิ จำคุก 5 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ.มาตรา 78 คงจำคุก 3 ปี4 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 ทวิเฉพาะในเรื่องโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยโดยให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานนี้นั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 574
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า "ผู้เช่าซื้อสัญญาว่าจะใช้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อนี้ด้วยความระมัดระวังอย่างดีที่สุด… หากเกิดความเสียหายขึ้นจะโดยเหตุเพราะผู้เช่าซื้อหรือบุคคลภายนอก หรือโดยอุบัติเหตุสุดวิสัยก็ตาม อันเป็นเหตุให้ทรัพย์สินสูญหายไป หรือเสียหายจนไม่อาจจะแก้ไขให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ หรือการซ่อมแซมแก้ไขนั้นคิดเป็นเงินเกินกว่าครึ่งหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อแล้วผู้เช่าซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่เจ้าของ…" ดังนี้เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปประสบอุบัติเหตุเสียหายทั้งคันและถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดไว้จำเลยที่ 1 ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพใช้การได้ดีคืนโจทก์หรือใช้ราคาแทนตามสัญญาที่ตกลงกันดังกล่าวข้างต้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบถึงอุบัติเหตุดังกล่าวหาทำให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224, 408, 653 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475
เอกสารระบุว่าโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญา โจทก์จะนำเงินของผู้ใดมาให้จำเลยกู้ย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกระทำได้ ไม่ทำให้สัญญากู้และสัญญาจำนองเสียไปแต่ประการใด
จำเลยกู้เงินโจทก์ 500,000 บาท ตกลงดอกเบี้ยอัตราร้อยละ30 ต่อปี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ.2475 ตกเป็นโมฆะ เท่ากับการกู้เงินรายนี้มิได้มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยไว้ แต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินโจทก์บอกกล่าวทวงถามแล้วจำเลยผิดนัด โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี
จำเลยชำระเงิน 150,000 บาท แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงิน 500,000 บาท ด้วยความสมัครใจของจำเลยตามที่ตกลงกับโจทก์ไว้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ จำเลยจะเรียกคืนหรือนำมาหักกับต้นเงิน 500,000 บาท มิได้ จำเลยจึงยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่ 500,000 บาท
การกู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะเฉพาะดอกเบี้ยเกินอัตราเท่านั้น ไม่ทำให้การกู้เงินตกเป็นโมฆะไปด้วย สัญญากู้ส่วนที่มีการกู้เงินกันจริงยังคงมีผลผูกพันคู่สัญญากันอยู่ จำเลยจึงฟ้องแย้งขอให้ยกเลิกสัญญามิได้ ทั้งไม่มีเหตุให้เพิกถอนสัญญาจำนองอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้เงินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/30, 904, 921, 940 วรรคสาม, 989, 1003 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 27, 172, 225, 249 ตาราง 2 ค่าธรรมเนียมอื่น
โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสาร เพราะไม่ทราบว่ามีค่าอ้างเอกสารค้างชำระอยู่ ครั้นเมื่อโจทก์ทราบก็รีบจัดการชำระค่าอ้างเอกสารก่อนยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับไว้ อันเป็นการแก้ไขข้อผิดหลงให้ถูกต้องแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวของโจทก์เสียไป
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับเช็คตามฟ้องจากจำเลยทั้งสามเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์สลักหลังเช็คนั้นไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนด ธนาคารที่รับซื้อลดเช็คนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทุกฉบับ โจทก์ได้ใช้เงินตามเช็คนั้นให้แก่ธนาคารผู้ทรงเช็คเรียบร้อยแล้วและได้รับเช็คคืนมา พร้อมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนข้อที่ว่าโจทก์นำเงินไปชำระแก่ธนาคารและรับเช็คคืนมาเมื่อวันที่เท่าใดเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทนำไปขายลดแก่ธนาคารต่าง ๆ ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คไว้ย่อมเป็นผู้ทรงเช็ค การสลักหลังของโจทก์จึงเป็นเพียงประกัน (อาวัล)สำหรับผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 โจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คพิพาทที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแทนจำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีดังกล่าวนี้ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายในกำหนดเวลาเท่าใด สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ไล่เบี้ยจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 หาใช่มีอายุความ 6 เดือน ตามป.พ.พ.มาตรา 1003 ไม่
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งหกฉบับรวมเป็นเงิน 1,757,500 บาท ชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จำเลยที่ 1และที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งหกฉบับแก่โจทก์ไปแล้วบางส่วนเป็นจำนวนเงิน 670,603.56 บาท โดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระไปนั้นเป็นเงินค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดก็ตาม แต่ปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าเป็นค่าดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบแม้ไม่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นประเด็นขึ้นมาได้ในชั้นอุทธรณ์และฎีกาได้