คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 138

ผู้เสียหายได้พบจำเลยในขณะที่จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุรานั่งคร่อมอยู่บนรถจักรยานยนต์โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำความผิดและผู้เสียหายมิได้เข้าทำการจับกุมจำเลยอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งการที่ ส. แจ้งต่อผู้เสียหายก็ระบุแต่เพียงว่าอาจมีเรื่องกันบริเวณปากซอยให้ไปช่วยคนหน่อย จึงฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นโดยจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุหรือกระทำความผิดแต่อย่างใด การที่ผู้เสียหายปฏิบัติภารกิจอื่นแล้วเข้าไปยังที่เกิดเหตุโดยยังมิได้มีเหตุการณ์วิวาทเกิดขึ้นแต่ผู้เสียหายกลับไปมีเรื่องกับจำเลยเป็นส่วนตัว โดยถูกจำเลยพูดว่ากล่าวและผลักอก จึงไม่ใช่เรื่องที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติการตามหน้าที่ในการเข้าระงับเหตุทะเลาะวิวาทหรือจับกุมผู้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3163/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 151, 157, 353 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192 วรรคท้าย

ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2533 ไม่ได้บัญญัติให้สถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรเป็นส่วนราชการของกรมส่งเสริมการเกษตรแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8วิทยุการเกษตรตามคำสั่งแต่งตั้งของอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรมิใช่ถูกแต่งตั้งอย่างข้าราชการไม่มีการสอบคัดเลือกและไม่ต้องรับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) การถอดถอนหรือให้ออกจากตำแหน่งก็เป็นไปตามที่อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเห็นสมควร ดังนี้ ฐานะของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงเจ้าหน้าที่ดำเนินงานของสถานีวิทยุปชส.8 วิทยุการเกษตร ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตร จำเลยที่ 1จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน โจทก์ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 รวมอยู่ด้วย ทั้งความผิดตามมาตรา 353 ก็มีโทษเบากว่าความผิดตามมาตรา 151 และ 157ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และหากทางพิจารณาได้ข้อเท็จจริงเช่นนั้น ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามมาตรา 353 หรือไม่ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายให้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลการจัดรายการของสถานีวิทยุ ปชส.8 วิทยุการเกษตรกระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตนำเอาเวลาออกอากาศให้บ.เช่าจัดรายการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและเบียดบังเอาเงินค่าเช่าจาก บ.ไปเป็นของตนโดยไม่นำเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของสถานีวิทยุดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้รับมอบหมายและมิได้มีหน้าที่เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 แต่ได้ช่วยเหลือและให้ความสะดวกก่อนและขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 และการกระทำของจำเลยที่ 2เป็นความผิดตามมาตรา 353 ประกอบด้วยมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2540

พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 25 วรรคสอง

ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ในกรณีที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์หรือวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ดังนั้น กรณีคดีนี้เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีฯ มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ โจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1599 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 287, 292

ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของจ. เมื่อจ.ถึงแก่กรรมไปโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดที่ดินพิพาทจึงย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายรวมทั้งจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของจ. จำเลยที่2จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแปลงนี้ด้วยเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการยึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีตามที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอ้างว่าเป็นของจำเลยที่2ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้อันเป็นการยึดทรัพย์สินโดยชอบแล้วแม้ที่ดินพิพาทยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างจำเลยที่2กับทายาทอื่นก็ไม่ทำให้การยึดทรัพย์ต้องเสียไปเพราะเป็นเรื่องที่ทายาทอื่นๆจะต้องขอส่วนแบ่งหรือร้องขอให้กันเงินส่วนของตนออกเมื่อขายทรัพย์แล้วต่อไปโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่2ย่อมมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่อนุญาตขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 137

ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหายไปแต่อ. เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของก. และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดงเมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้องอ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา137บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทนซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกพนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 138, 271

โจทก์ที่1ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวที่ระบุไว้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยที่1เพื่อให้จำเลยที่1ไปโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้จำเลยที่2ด้วยจำเลยที่1จึงเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในส่วนของทรัพย์สินที่โจทก์ที่1จะต้องโอนให้แก่จำเลยที่2ไว้แทนจำเลยที่2เมื่อจำเลยที่2ประสงค์จะให้จำเลยที่1ใส่ชื่อจำเลยที่2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยที่2ได้วางเงินในส่วนที่จำเลยที่2จะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ที่1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งจำเลยที่1ได้จ่ายแทนไปก่อนไว้ที่ศาลชั้นต้นเพื่อให้จำเลยที่1รับไปแล้วจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการตามที่จำเลยที่2มีความประสงค์ดังกล่าวจำเลยที่2จึงขอให้บังคับคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ส่วนที่จำเลยที่1อ้างว่าจำเลยที่2ได้ตกลงกับจำเลยที่1ว่าไม่ประสงค์จะรับที่ดินและตึกแถวที่จำเลยที่1ถือกรรมสิทธิ์แทนและขอโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่1ต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยที่2ซึ่งจำเลยที่1ได้ดำเนินการตามข้อตกลงดังกล่าวให้แก่จำเลยที่2แล้วนั้นข้อตกลงกันดังกล่าวมิได้กระทำต่อหน้าศาลศาลจึงไม่อาจรับรู้ข้อตกลงระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ดังกล่าวและรับบังคับให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 715

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา715ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์คือดอกเบี้ยด้วยและตามสัญญาจำนองระบุว่าผู้จำนองตกลงให้ดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีโดยส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งการคิดดอกเบี้ยให้คิดทบต้นตามวิธีการของธนาคารข้อตกลงอื่นๆให้เป็นไปตามสัญญาต่อท้ายและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจำนองซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองกำหนดว่าผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ15ต่อปีในจำนวนเงินทั้งสิ้นที่ผู้จำนองเป็นหนี้เงินดอกเบี้ยนี้จะได้คิดในยอดเงินคงเหลือประจำวันและผู้จำนองยอมส่งดอกเบี้ยทุกๆเดือนเสมอไปหากผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นในบัญชีของผู้จำนองด้วยโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราดังกล่าวได้ตามข้อตกลงในสัญญาจำนองดังกล่าวเมื่อดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ถูกทบเข้าเป็นต้นเงินเสียแล้วจึงไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า5ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 227

พยานโจทก์ผู้จับกุมทั้งสามปากไม่เคยรู้จักจำเลยที่3มาก่อนไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าแสร้งเบิกความปรักปรำจำเลยที่3ต่อสู้ว่าคำรับสารภาพชั้นจับกุมเกิดจากการข่มขู่ทำร้ายของเจ้าพนักงานตำรวจก็ไม่มีน้ำหนักเพราะหากมีการข่มขู่ทำร้ายจริงเจ้าพนักงานตำรวจก็น่าจะกระทำต่อจำเลยที่2ด้วยเพราะก็ถูกแจ้งข้อหาเดียวกันแต่จำเลยที่2ให้การปฏิเสธและที่อ้างว่าจำเลยที่2นำของกลางมาใส่กระเป๋าเสื้อของจำเลยที่3โดยจำเลยที่3ไม่รู้ว่าของกลางเป็นเมทแอมเฟตามีนนั้นก็น่าจะให้การต่อผู้จับกุมแต่แรกที่มาให้การต่อสู้ต่อพนักงานสอบสวนและเบิกความต่อศาลภายหลังโดยได้มีเวลาไตร่ตรองเป็นเวลานานหลังถูกจับเป็นข้อต่อสู้ที่ไร้น้ำหนักพยานหลักฐานโจทก์จึงเพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยที่3ร่วมกับจำเลยที่1และที่2กระทำความผิดตามคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3157/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1358, 1375

เดิมร. พ. และน. ร่วมกันแจ้งส.ค.1สำหรับที่ดินพิพาทต่อมาบุคคลทั้งสามร่วมกันยื่นคำขอออกน.ส.3ไว้แต่ทางราชการยังไม่ออกให้จนกระทั่งบุคคลทั้งสามถึงแก่กรรมไปก่อนโจทก์ที่1เป็นบุตรของร. และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของร. ตามคำสั่งศาลส่วนจำเลยที่ 1เป็นบุตรบุญธรรมของน. เมื่อโจทก์ที่1ร่วมเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทและจำเลยที่1เพิ่งจะเข้าไปทำประโยชน์เพียงส่วนน้อยซึ่งไม่ถึง1ใน3ของที่ดินพิพาทที่จำเลยที่1มีส่วนอยู่แม้จำเลยที่1ยื่นคำขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทและลงประกาศหนังสือพิมพ์เอาที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ผู้เดียวก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิใดๆขึ้นใหม่แก่จำเลยที่1โดยเฉพาะการที่จำเลยที่1คัดค้านมิให้แนวเขตที่ดินราชพัสดุรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทเป็นการกระทำในทางจัดการเพื่อรักษาทรัพย์สินโดยใช้สิทธิต่อสู้บุคคลภายนอกซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองจากเจ้าของรวมคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 653 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94

โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ส. เป็นผู้กู้มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง60,000บาทรวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเงิน400,000บาทไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้

« »
ติดต่อเราทาง LINE