คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3832/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1472, 1474, 1749 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 57, 142, 248, 249
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 220,000บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 14 ส่วน คิดเป็นเงิน110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ 1 ฎีกา ขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ใน 7 ส่วนตามฟ้องแม้คดีทั้งสองสำนวนนี้จะรวมพิจารณาและโจทก์ที่ 1จะยื่นฎีการวมกันมากับโจทก์ที่ 2 แต่การคำนวณทุนทรัพย์ในการที่จะใช้สิทธิฎีกานี้ต้องแยกต่างหากจากกันดังนั้นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 1 คือ ส่วนแบ่งอีกจำนวน1 ใน 14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาทซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่สินสมรสระหว่าง บ. และ ส. นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สำหรับฎีกาโจทก์ที่ 1 ที่ว่า นางสอนถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบุคคลเหล่านี้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงหรือทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ดังนี้ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 172เดิมมีชื่อ ส. ภริยาเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 173 มีชื่อ บ. สามีเป็นเจ้าของส. และ บ.ต่างนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับ อ. มีกำหนด 5 ปี แล้วไม่ไถ่ถอน ต่อมา บ.ได้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวจาก อ. ซึ่งขณะนั้นบ. และ ส. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินจากการขายสวนของ บ. ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง บ. และ ส. ดังนั้น ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่าง บ. และ ส. โจทก์มิได้ฟ้อง ส. กับพวกซึ่งเป็นภริยาและบุตรของบ. เจ้ามรดกเป็นจำเลย แม้ ส. กับพวกจะเคยยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมแต่ในที่สุดก็ได้ถอนคำร้องดังกล่าวไปโดยโจทก์มิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ ส.กับพวกถอนคำร้องสอดไปแล้ว ส. กับพวกดังกล่าวจึงมิได้มีฐานะเป็นคู่ความต่อไป จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่านางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ส. จึงต้องฟังว่านางสอนกับพวก ดังกล่าวซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์ ตามสัดส่วนของตน โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดก ซึ่งจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีกี่คน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านางสอน นายเฉลิม นายถนอมนายสมัยมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเพียงใดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนแบ่งเท่าใดเท่านั้น ซึ่งอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาททั้งสองหรือไม่เพียงใดนั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2540
ประมวลกฎหมายอาญา ม. 276, 284 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 212, 227
จำเลยกับพวกเดินทางกลับจากดูภาพยนตร์กลางแปลงพร้อมกับผู้เสียหายโดยทำทีจะพาผู้เสียหายไปส่งบ้านแต่กลับพาไปผลัดเปลี่ยนกันข่มขืนกระทำชำเราที่จำเลยฎีกาว่าผู้เสียหายเบิกความตอบถามค้านรับว่าคืนเกิดเหตุเดือนมืดผู้เสียหายไม่ทราบว่าใครเป็นคนข่มขืนกระทำชำเราก่อนหลังใครเป็นคนจับแขนจับขาและถอดกางเกงของผู้เสียหายนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่หาใช่ข้อสาระสำคัญถึงกับจะทำให้คำเบิกความทั้งหมดของผู้เสียหายมีน้ำหนักน้อยลงและไม่น่าเชื่อถือแต่ประการใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดข้อสำคัญอยู่ที่ว่าผู้เสียหายยืนยันว่าจำเลยอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นและร่วมข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายด้วยและที่แพทย์ตรวจไม่พบเชื้ออสุจิในช่องคลอดของผู้เสียหายนั้นก็เป็นเรื่องปกติไม่มีข้อชวนสงสัยแต่อย่างใดเพราะแพทย์ทำการตรวจพิสูจน์ร่างกายผู้เสียหายหลังเกิดเหตุแล้วถึง8วันส่วนที่จำเลยฎีกาว่าผู้ใหญ่ฝ่ายจำเลยไปสู่ขอผู้เสียหายให้แก่จำเลยแสดงว่าจำเลยไม่ได้ร่วมกระทำผิดนั้นนอกจากไม่เป็นข้อสนับสนุนให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของจำเลยแล้วกลับชี้ให้เห็นว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่จำเลยหวังจะทำให้ผลของการกระทำความผิดของตนถูกกลบเกลื่อนลบล้างไปและการที่โจทก์ไม่ส่งคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นพยานนั้นก็เป็นสิทธิของโจทก์หากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายเบิกความไม่ตรงกับที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเรียกสำนวนการสอบสวนมาประกอบคดีได้ถ้อยคำที่ผู้เสียหายเบิกความต่อศาลย่อมมีน้ำหนักให้น่าเชื่อกว่าที่ให้การไว้ในชั้นสอบสวนการที่โจทก์ไม่ส่งคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายเป็นพยานจึงไม่ทำให้น้ำหนักคำพยานปากผู้เสียหายเสียไปพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงพอฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยร่วมกระทำความผิดด้วย การกระทำความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารกับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราเป็นความผิดต่างกรรมกันแต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา276วรรคสองซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดและโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา284วรรคแรกอีกกระทงหนึ่งได้เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา212ประกอบมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 224, 683 ประมวลรัษฎากร ม. 27, 27 ทวิ, 30 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55
เงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.41บาทที่โจทก์คืนให้แก่จำเลยที่1ก่อนตรวจสอบตามคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์มีข้อตกลงว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ผู้ขอคืนภาษีอากรต้องเสียภาษีแต่จำเลยที่1ไม่ชำระภาษีอากรตามการแจ้งการประเมินหรือสั่งให้ชำระไม่ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้วไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือมีการโต้แย้งหรือไม่ก็ตามจำเลยที่2ยอมชำระให้จนครบถ้วนทันทีการคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่1จึงมิใช่การคืนให้โดยเด็ดขาดแต่เป็นการคืนโดยมีเงื่อนไขว่าหากผลการตรวจสอบปรากฏว่าจำเลยที่1ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวจำเลยที่1ต้องคืนเงินภาษีอากรที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ปรากฏว่าเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นเจ้าพนักงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเป็นเหตุให้ไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.51บาทที่ได้รับคืนไปโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองไม่คืนให้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที1คืนเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ขอคืนไปจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิได้และมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1ต้องชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินซึ่งยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยจำเลยที่1มีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการคืนเงินภาษีอากรพ.ศ.2529ข้อ15.2ข.โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้แม้ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์มิได้ฟ้องเรียกให้จำเลยที่1ชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมินแต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่1คืนเงินภาษีอากรที่ขอคืนก่อนตรวจสอบโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามหนังสือค้ำประกันเมื่อเจ้าพนักงานของโจทก์ตรวจสอบเสร็จสิ้นแล้วจำเลยที่1ยังต้องชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2530เกินกว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ณที่จ่ายเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือลงวันที่12ตุลาคม2536แจ้งให้จำเลยที่1นำเงินภาษีอากรจำนวน50,677,905.41บาทมาคืนโจทก์ภายใน30วันนับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวจำเลยที่1ได้รับหนังสือเมื่อวันที่14ตุลาคม2536จำเลยที่1จึงมีสิทธินำเงินจำนวนดังกล่าวไปคืนโจทก์ภายในวันที่13พฤศจิกายน2536เมื่อจำเลยที่1ไม่มาชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีอากรที่จำเลยที่1รับคืนไปจากโจทก์จำนวน50,677,905.41บาทได้ในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันที่14พฤศจิกายน2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224มิใช่นับแต่วันที่14ตุลาคม2536หรือวันที่จำเลยที่1รับเงินจำนวนดังกล่าวคืนไปจากโจทก์ ส่วนจำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์เป็นเงิน50,677,905.41บาทพร้อมทั้งเงินเพิ่มดังนี้คำว่าเงินเพิ่มนั้นประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา27กรณีบุคคลใดไม่เสียหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนและมาตรา27ทวิให้ถือว่าเงินเพิ่มเป็นเงินภาษีดังนั้นเงินเพิ่มจึงมิใช่ดอกเบี้ยเมื่อกรณีพิพาทในคดีนี้ไม่มีเงินเพิ่มตามสัญญาค้ำประกันได้ระบุจำนวนเงินที่จำเลยที่2ต้องรับผิดจึงไม่ใช่การค้ำประกันอย่างไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา683จำเลยที่2จึงคงรับผิดในวงเงิน50,677,905.41บาทแต่เนื่องจากเป็นหนี้เงินจำเลยที่2จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เมื่อโจทก์มีหนังสือลงวันที่15ธันวาคม2536แจ้งให้จำเลยที่2ทราบว่าการตรวจสอบภาษีอากรเสร็จสิ้นแล้วผลการตรวจสอบจำเลยที่1ต้องส่งคืนเงินภาษีอากรที่รับคืนเกินไปและให้จำเลยที่2ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่1นำเงินจำนวน50,677,905.41บาทไปชำระแก่โจทก์จำเลยที่2ได้รับหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่20ธันวาคม2536แล้วไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากต้นเงินจำนวนดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่21ธันวาคม2536เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 386 วรรคหนึ่ง
การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวได้จะต้องมีข้อสัญญาหรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา386วรรคหนึ่งเท่านั้นแต่ตามสัญญาบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดว่าจำเลยจะเลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้างจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสอง, 225
เดิมโจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างอาคารกับโจทก์แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่โอนที่ดินและอาคารให้โจทก์จึงฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งมูลคดีที่โจทก์ฟ้องสืบเนื่องมาจากกรณีจำเลยผิดสัญญาส่วนจำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์เข้าไปอยู่ในที่ดินและอาคารของจำเลยโดยไม่มีสิทธิซึ่งมูลคดีที่จำเลยฟ้องแย้งสืบเนื่องมาจากโจทก์กระทำละเมิดต่อทรัพย์สินของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมปัญหาฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่นั้นเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 70, 192 เดิม, 193/14, 204, 224, 456, 797 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 249 วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ม. 86 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521
โจทก์กล่าวในฎีกาเพียงว่า จำเลยที่ 3 ได้สั่งซื้อสินค้าและได้รับสินค้าไปจากโจทก์เพื่อนำไปใช้ในราชการเรียบร้อยแล้ว จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้ชัดแจ้งในฎีกาว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะตัวแทนจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในหนี้ตามฟ้องฎีกาโจทก์ข้อนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อพัสดุของใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่ 1เมื่อปรากฏว่าการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงานหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้จัดซื้อการสั่งซื้อสินค้าของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นการสั่งการตามลำดับการบังคับบัญชาคือ ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32 เป็นผู้มีอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้างเป็นการทำแทนหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่โจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ก็เท่ากับทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระหนี้ด้วย จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถาม โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยของหนี้ที่ค้างชำระตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดซื้อจัดจ้างแทนจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 3 จัดซื้อสินค้าเพื่อใช้ในราชการของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 32จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 โดยใช้งบประมาณที่จำเลยที่ 1 จัดสรรมาให้เป็นรายปี ส่วนการที่จำเลยที่ 3ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จัดซื้อสินค้าโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2521 และระเบียบกรมตำรวจว่าด้วยการมอบอำนาจในการสั่งซื้อและสั่งจ้าง ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2528ก็เป็นเรื่องผิดระเบียบภายในวงราชการของจำเลยที่ 1ซึ่งผู้ปฏิบัติผิดระเบียบต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 1อีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากภาระที่จะต้องรับผิดชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 ก่อขึ้นแก่โจทก์ แม้หนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อขาดอายุความไปแล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 3 ในฐานะที่เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือรับว่าจะชำระหนี้ทั้งหมดให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 เดิมจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการหาอาจยกเหตุการขาดอายุความนั้นขึ้นอ้างเพื่อบอกปัดการชำระหนี้ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 94 (ข), 224
โจทก์ฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตามหนังสือสัญญาเช่ามีข้อความเกี่ยวกับค่าเช่าว่าค่าเช่าเดือนละ1,000บาทและผู้เช่าชำระเงินกินเปล่าแล้วเมื่อเงินกินเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระกันล่วงหน้าจึงต้องนำมาคำนวณเฉลี่ยรวมเป็นค่าเช่าด้วยเงินกินเปล่ามีจำนวน2,000,000บาทกำหนดเวลาเช่า11ปี6เดือนคิดเป็นค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ14,492.75บาทเมื่อรวมกับค่าเช่าปกติเดือนละ1,000บาทจึงเป็นค่าเช่าเดือนละ15,492.75บาทในขณะยื่นคำฟ้องซึ่งเป็นค่าเช่าที่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ปัญหาว่าเงินกินเปล่าหรือค่าเช่าล่วงหน้าเป็นเงินจำนวน250,000บาทตามที่ระบุในสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องหรือเป็นจำนวนเงิน2,000,000บาทตามที่จำเลยอ้างกรณีก็ไม่ต้องห้ามที่จะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเช่าตามมาตรา94(ข)เพราะข้อโต้เถียงเรื่องค่าเช่ามิใช่ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมิใช่กรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 552 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 248 วรรคสอง เดิ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึก 5 ชั้นที่พิพาท อันมีค่าเช่าที่ตกลงในขณะทำสัญญาวันที่ 13 มกราคม 2526 กำหนดอัตรากันไว้เดือนละ 500 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นและขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าที่จำเลย ได้ทำไว้โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจองตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญา จองเช่าอาคารจำนวน 1,620,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้จดทะเบียนเช่าอยู่ในตึกพิพาทมีกำหนดระยะยาวนาน เป็นเวลา 25 ปี 6 เดือน 7 วัน เงินค่าจองเช่าจำนวน1,620,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่ทำให้จำเลยสามารถมีสิทธิได้อยู่ในห้องเช่าของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงจดทะเบียนเช่ากันไว้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระไว้ล่วงหน้าให้โจทก์ โจทก์จึงมี สิทธินำเงินค่าจองเช่าอาคารนี้มาคำนวณแล้วคิดเฉลี่ยเป็นค่าเช่า รายเดือนตามระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ได้ แล้วนำเงิน ค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 500 บาท ตามสัญญามารวมซึ่งเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วเป็นเงินค่าเช่าเกินเดือนละ 5,000 บาทจึงไม่ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาที่โจทก์ยื่นฎีกา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2534 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3815/2540
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420, 421, 887, 1337
โจทก์ก่อสร้างบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานครอันเป็นเมืองหลวงของประเทศมีประชาชนอยู่หนาแน่น มีอาคารบ้านเรือนอาคารพาณิชย์และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ปลูกอยู่อย่างแออัดที่ดินที่ตั้งบ้านโจทก์อยู่ใกล้กับถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนลาดพร้าว เป็นย่านที่มีความเจริญมาก ที่ดินมีเนื้อที่ว่างน้อยและราคาแพง จึงต้องมีการก่อสร้างอาคารสูงมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด การที่โจทก์ก่อสร้างบ้านในทำเลดังกล่าวจึงควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าอาจมีผู้มาก่อสร้างอาคารสูงใกล้กับบ้านโจทก์เป็นเหตุให้บังทิศทางลม แสงสว่าง และทัศนียภาพที่มองจากบ้านโจทก์ อันเป็นไปตามปกติและมีเหตุอันควรอยู่แล้ว ดังนั้น แม้จำเลยก่อสร้างอาคารเป็นผนังทึบไม่มีช่องระบายลมก็ตาม แต่กระแสลมและแสงสว่างยังคงพัดผ่านและส่องมายังบ้านโจทก์ได้พอสมควร ประกอบกับโจทก์ก็ตั้งใจจะติดตั้งเครื่องปรับอากาศในบ้านของโจทก์อยู่แล้ว เพราะสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวในกรุงเทพมหานคร เพื่อความสะดวกสบายของโจทก์เองหาใช่เพราะการก่อสร้างอาคารของจำเลยทำให้อากาศร้อนอบอ้าวไม่ ทั้งการที่จำเลยก่อสร้างอาคารสูงบังบ้านโจทก์ก็หาเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ไม่ เพราะกรณีตามมาตรา 421 จะต้องเป็นเรื่องของการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถ่ายเดียว แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยประสงค์ต่อผลอันเป็นธรรมดาของสิทธินั้น แม้ผู้กระทำจะเห็นว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายบ้างก็ไม่เป็นละเมิด เมื่อไม่ปรากฏว่าการก่อสร้างอาคารนั้นจำเลยได้กระทำเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์โดยมุ่งต่อความเสียหายแก่โจทก์ถ่ายเดียว การใช้สิทธิของจำเลยในการก่อสร้างและดัดแปลงอาคารจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 421 กรณีไม่มีเหตุที่จะรื้อถอนอาคารของจำเลยและกำหนดค่าขาดประโยชน์จากการใช้สอยอาคารให้โจทก์
จำเลยร่วมที่ 1 ใช้เพียงเสาไม้ปักกั้นดินไว้ เมื่อมีฝนตกดินในบ้านโจทก์จึงเคลื่อนตัวผ่านช่องว่างระหว่างเสาไม้ลงไปในหลุมที่จำเลยร่วมที่ 1 ขุดทำให้ดินในเขตบ้านโจทก์ทรุดเป็นเหตุให้รั้วบ้าน ผนังหินล้างและพื้นซีเมนต์รอบบ้านโจทก์แตกร้าว เมื่อปรากฏว่าอาคารของจำเลยและบ้านโจทก์ต่างก็ปลูกห่างจากแนวรั้วถึง 2 เมตร จำเลยร่วมที่ 1 ชอบที่จะสร้างเครื่องป้องกันคลุมอาคารของจำเลยด้านที่ใกล้กับบ้านโจทก์ เพื่อป้องกันมิให้วัสดุก่อสร้างหรือน้ำปูนซีเมนต์ตกหล่นมาถูกบ้านโจทก์เสียหาย โดยไม่ต้องทำล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของโจทก์ได้ แต่จำเลยร่วมที่ 1 ก็หาได้ทำไม่ จำเลยร่วมที่ 1 จึงกระทำละเมิดต่อโจทก์
แม้กรมธรรม์ประกันภัยจะกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่า"ผู้รับประกันภัยจะไม่ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยในความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือที่ดินหรืออาคารใดอันเกิดเนื่องจากการสั่นสะเทือนหรือการเคลื่อนไหวหรือฐานรากที่อ่อนแอหรือความบาดเจ็บหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินใด ๆ อันเกิดจากความเสียหายเช่นว่านั้นใด ๆ" ก็ตาม แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้บ้านโจทก์ได้รับความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยร่วมที่ 1 ที่ขุดหลุมโดยไม่มีมาตรการป้องกันการพังทลายของดินที่ดีพอเป็นเหตุให้ดินในเขตบ้านโจทก์ทรุดตัวลงไปในหลุมที่จำเลยร่วมที่ 1 ขุดทำให้บ้านโจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุตามข้อยกเว้นความรับผิดดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 จะอ้างเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวจำเลยร่วมที่ 2 ตกลงรับประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกด้วย เป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887ดังนั้น เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมที่ 2 ผู้รับประกันภัยโดยตรง ส่วนการที่จำเลยร่วมที่ 1 ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยในข้อที่ไม่แจ้งเหตุให้จำเลยร่วมที่ 2ทราบภายใน 14 วัน นับจากวันที่เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยร่วมทั้งสองที่จำเลยร่วมที่ 2 จะว่ากล่าวเอาแก่จำเลยร่วมที่ 1 ผู้เป็นคู่สัญญาประกันภัยด้วยกัน จำเลยร่วมที่ 2 จะยกเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2540
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 59, 21, 127, 142, 180, 181, 183 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524
โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาจำเลยก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าเช่าที่พิพาททำนาคดีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524ก่อนฟ้อง โจทก์ฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์เดิมมารดาโจทก์ให้ส.เช่าทำนาต่อมาส. เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแต่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นพี่น้องของส. ยังคงปลูกบ้านอยู่บนที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิใดๆขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อบ้านแต่ละหลังออกไปเป็นการอ้างว่าจำเลยทั้งสามเข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิส.และจำเลยทั้งสามก็ให้การว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามครอบครองที่พิพาทตลอดมาจำเลยทั้งสามจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีโจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีเดียวกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา59 โจทก์บรรยายฟ้องว่าส. เช่าที่พิพาทโฉนดเลขที่7และ11จากมารดาโจทก์ต่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์และพี่น้องจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์มาแล้วต่อมาส. ได้เลิกทำนาและย้ายครอบครัวออกไปแล้วแต่จำเลยทั้งสามไม่ออกขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปตามพฤติการณ์เห็นได้ว่าโจทก์มีเจตนาจะขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่7และ11ตั้งแต่ต้นเหตุที่โจทก์ไม่ได้ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่11ด้วยก็เพราะพิมพ์ข้อความตกไปฉะนั้นการที่โจทก์ขอแก้ไขคำขอท้ายฟ้องโดยขอเพิ่มเติมที่ดินโฉนดเลขที่11จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยไม่อยู่ในบังคับทีจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา180วรรคสองและอาจทำได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องให้จำเลยทั้งสามมีโอกาสคัดค้านตามมาตรา21(2)และไม่ต้องส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทั้งสามทราบล่วงหน้าอย่างน้อย3วันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องตามมาตรา181(1) คดีมีประเด็นโต้เถียงกันแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใดเท่านั้นไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142และมาตรา183ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นจึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127