คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8098

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8098/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 80, 340

จำเลยกับคนร้ายอีก 2 คน ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะทำการปล้นสร้อยข้อมือทองคำของผู้เสียหาย เมื่อคนร้ายคนหนึ่งปลดสร้อยข้อมือออกไปจากข้อมือของผู้เสียหายไปได้นั้น ทรัพย์นั้นจึงขาดจากการครอบครองของผู้เสียหาย แต่อยู่ในมือคนร้ายคนนั้นพร้อมที่จะนำไปได้ย่อมเป็นการเคลื่อนที่ไปจากแหล่งที่ทรัพย์นั้นติดตรึงอยู่ตามปกติไปอยู่ในความครอบครองของคนร้ายเป็นการเอาไปโดยสมบูรณ์เป็นการปล้นทรัพย์สำเร็จแม้ผู้เสียหายแย่งคืนมาในทันทีก็เป็นกรณีเกิดขึ้นหลังจากการเอาทรัพย์นั้นไปแล้ว ย่อมไม่ทำให้การเอาทรัพย์ไปซึ่งสมบูรณ์แล้วกลับเป็นว่าไม่สมบูรณ์ไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8044

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8044/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 821 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142, 183, 246

คดีมีประเด็นว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ติดตั้งอะลูมิเนียมที่โชว์รูม ของจำเลยหรือไม่ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เชิด ป. เป็นตัวแทนของจำเลยในการว่าจ้างโจทก์ติดตั้งอะลูมิเนียมที่โชว์รูมดังกล่าว เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์โดยมี ป. ทำการแทนจำเลยในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยในฐานะเป็นตัวการจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นแห่งคดีดังกล่าวแล้ว หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 575, 824 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 84, 172 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31 พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ม. 39 (1) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

สำเนาสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์รับรองสำเนาถูกต้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฎิเสธ ว่าเป็นเอกสารไม่ถูกต้องกับเอกสารต้นฉบับอย่างไร จึงถือว่าจำเลยรับว่าข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นอยู่จริงตามนั้น ย. กรรมการจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยผูกพันจำเลยได้ลงชื่อในสัญญาจัดหางานกับโจทก์โดยเป็นการดำเนินการแทนบริษัท จ. เพื่อส่งโจทก์ไปทำงานกับบริษัท จ. ที่ไต้หวัน ต่อมาโจทก์ได้ไปทำงานโดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท จ. แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อตัวการจะได้เปิดเผยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824การที่บริษัท จ. ยอมให้โจทก์กลับประเทศไทยโดยไม่จัดหาตั๋วเครื่องบินขากลับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่กลับหักค่าตั๋วเครื่องบินจากค่าจ้างโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิจำเลยในฐานะตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์จำเลยจะอ้าง พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39(1) มายกเว้นความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2540

พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ม. 7

รถยนต์ที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรยี่ห้อโฟล์คสวาเกนรุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูห้องโดยสารด้านหลังปิดทึบหมดไม่มีกระจก โดยนำแผ่นเหล็กมาเชื่อมติดกับตัวถึงแล้วนำยางมาติดไว้ตรงรอยเชื่อม หากตัดแผ่นเหล็กที่เชื่อมในลักษณะเป็นรูปหน้าต่างออกและนำเบาะหลังไปใส่ไว้ ก็จะมีสภาพเช่นเดียวกับรถโฟล์คสวาเกนรุ่นกอล์ฟ แบบ 3 ประตูจึงเป็นรถยนต์นั่งตามคำจำกัดความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 มิใช่รถยนต์บรรทุกชนิดแวน จึงต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตประเภทที่ 05.01

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1640/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 456, 519

การแลกเปลี่ยนนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา519กำหนดให้นำบทบัญญัติทั้งหลายในลักษณะซื้อขายใช้ถึงการแลกเปลี่ยนด้วยดังนี้แม้การแลกเปลี่ยนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่จำเลยส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครองตลอดมาเป็นเวลาประมาณ10ปีอันเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาบางส่วนแล้วสัญญาแลกเปลี่ยนดังกล่าวจึงบังคับได้เช่นเดียวกับสัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองหาเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 150 พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ม. 6, 7

โจทก์เป็นนายวงแชร์ที่จัดให้มีการเล่นแชร์โดยมีทุนกองกลางต่อหนึ่งงวดรวมกันมากกว่าสามแสนบาทซึ่งมากกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเล่นแชร์พ.ศ.2534มาตรา6(3)ซึ่งตามพระราชบัญญัตินี้มีเพียงมาตรา7เท่านั้นที่ให้สิทธิแก่ลูกวงแชร์ฝ่ายเดียวที่จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา6โดยมิได้มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายนายวงแชร์หรือผู้จัดการให้มีการเล่นแชร์ที่จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกวงแชร์แต่อย่างใดแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯว่าไม่ประสงค์ที่จะให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับลูกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืนมาตรา6ดังนั้นการที่โจทก์เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าแชร์จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2540

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 80, 295, 288 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 185

ในชั้นสอบสวนจำเลยให้การถึงความรู้สึกของจิตใจอารมณ์ของตนเองว่าเมื่อแทงผู้เสียหายที่1ตายแล้วก็จะฆ่าตัวตายเพื่อหนีความวุ่นวายซึ่งพนักงานสอบสวนตั้งข้อหาพยายามฆ่าตามที่จำเลยให้การไว้ไม่ได้ตั้งข้อหาโดยสรุปเอาเองจึงเป็นการที่จำเลยลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน การที่จำเลยใช้ไขควงที่ฝนจนแหลมเป็นอาวุธแทงไปที่ร่างกายผู้เสียหายที่1เพื่อให้ผิวหนังทะลุอันเป็นการเล็งเห็นผลว่าถึงตายได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะจิตใจที่ไม่คำนึงถึงชีวิตผู้อื่นผู้เสียหายที่1เป็นเพศที่อ่อนแอว่าไม่ได้เป็นฝ่ายก่อเหตุขึ้นก่อนและไม่มีทางที่จะต่อสู้ชนะได้จำเลยไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธประทุษร้ายผู้หญิงการใช้อาวุธที่ไม่ได้ป้องกันตัวเองย่อมมุ่งต่อผลคือชีวิตทั้งอายุของจำเลยในขณะที่กระทำความผิดนั้นสามารถรู้ผิดชอบและบังคับตนเองได้ไม่ได้มีจิตใจบกพร่องจำเลยสร้างภยันตรายให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตนเองมิใช่เกิดจากความตื่นเต้นความตกใจหรือความกลัวอันจะทำให้เห็นว่าจำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายตามที่ฎีกาจำเลยจะแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาฆ่าหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 850

ตามเอกสารมีข้อความว่า ค่าเสียหายของรถยนต์บรรทุกกระบะ จำเลยยินยอมชดใช้ให้ทั้งสิ้นตามสภาพความเสียหายที่เป็นจริง ไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชดใช้เงินตามความเสียหาย ที่เป็นจริงนั้น จำนวนเท่าใด และไม่ปรากฏวันเดือนปีที่ ถึงกำหนดชำระแก่กันเมื่อใด ชำระกันที่ไหนอย่างไร ข้อความ ตามเอกสารดังกล่าวยังไม่ชัดแจ้งพอที่จะถือว่าโจทก์ได้สิทธิ ตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนแล้ว อันจะทำให้ ปราศจากการโต้แย้งกันอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2540

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 76, 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55, 172

โจทก์บรรยายฟ้องว่า การซื้อที่ดินของโจทก์ได้ กระทำ ขึ้น ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ของ กรม ที่ดินจำเลยที่ 2 จึง มั่นใจ และ เชื่อ โดย สุจริตใจ ว่า การ ซื้อ ขายจะ ต้อง สมบูรณ์ และ ถูก ต้อง ตาม กฎหมาย ซึ่ง การ ซื้อ ขายครั้งนี้ จำเลย ที่ 1 เป็น พนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้มี อำนาจ ใน ฐานะเจ้าพนักงาน ที่ดิน จดทะเบียน โอน กรรมสิทธิ์ ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ จำเลย ที่ 1 ได้ จดทะเบียน การ ซื้อ ขายเสร็จแล้ว มอบ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ให้ แก่ โจทก์ ต่อมา จึง ทราบ ว่า โฉนด ที่ดิน ที่จำเลย ที่ 1 ส่งมอบ โฉนด ที่ดิน ให้ แก่โจทก์ ทั้งแปด เป็น ของปลอม และ เจ้าของ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน ไม่ได้ ขายที่ดิน ของตน แต่ประการใด การปลอม บัตร ประจำตัว ประชาชน สำเนา ทะเบียน บ้าน และ โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน โดย โจทก์ไม่ทราบ มา ก่อน จำเลย ที่ 1 กับพวก ได้ ร่วมกัน ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือมิฉะนั้น ได้ กระทำ การ ใน หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ โดย มิได้ตรวจสอบ หลักฐาน และ โฉนด ที่ดิน หาก มี การ ตรวจสอบ หลักฐานของ ทาง ราชการ ที่มี อยู่ โดย เฉพาะ โฉนด ที่ดิน ก็ ทราบ ได้ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ที่นำ มา จดทะเบียน เป็น เอกสาร ปลอมการ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 ใน ฐานะ เป็น เจ้าพนักงาน ที่ดิน และ เป็นผู้แทน ของ จำเลยที่ 2 เป็น การ กระทำ หน้าที่ โดย มิชอบ หรือ เป็นการ ประมาท เลินเล่อ อย่าง ร้ายแรง ทำให้ โจทก์ เสียหาย เป็น เงินเท่ากับ ค่าที่ดิน ที่ โจทก์ ทั้งแปด เสียไป อัน เป็น ความ เสียหาย จากผล ละเมิด ที่ จำเลย ที่ 1 กระทำ โดย ตรง นั้น เป็น การ โต้แย้ง สิทธิของ โจทก์ แล้ว โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง โจทก์ บรรยาย ฟ้อง ว่า จำเลย ที่ 1 มี อำนาจ หน้าที่ อย่างไร และได้ ปฏิบัติ หน้าที่ อย่างไร ซึ่ง การ ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ที่ โจทก์ บรรยายฟ้อง นั้น แสดงว่า จำเลย ที่ 1 กับ พวก ทุจริต ต่อ หน้าที่ หรือ มิฉะนั้น ก็ได้ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วย ความ ประมาท เลินเล่อ เป็น ผล ให้ โจทก์ ได้ รับความ เสียหาย และ ได้ บรรยาย ฟ้อง ถึง การ กระทำ หลาย ประการ ซึ่งจำเลย ที่ 1 มี หน้าที่ ปฏิบัติ ทั้ง การ ประทับ ตรา ปลอม หรือ การ ไม่ ตรวจเอกสาร อัน เป็น การ บรรยาย ใน รายละเอียด การ ปฏิบัติ จึง ไม่ ขัดแย้ง กันฟ้อง ของ โจทก์ ได้ แสดง โดย แจ้งชัด ซึ่ง สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และคำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้อ อ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อ หา เช่น ว่า นั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ฟ้อง โจทก์ ไม่ เคลือบ คลุม จำเลย ที่ 1 เป็น เจ้าพนักงาน จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม มีความรู้ ความชำนาญ ใน วิธีการ จดทะเบียน และ ตรวจสอบ เอกสาร ต่าง ๆที่ เกี่ยว ข้อง เป็น พิเศษ ซึ่ง จะ ต้อง ปฏิบัติ หน้าที่ ตาม ข้อ กำหนด และระเบียบ ปฏิบัติ ตาม กฎกระทรวง ที่ วาง ไว้ โดย เคร่งครัด ตาม ขั้น ตอนก่อน ที่ จำเลย ที่ 1 จะ ลง นาม ใน สารบัญ จดทะเบียน เปลี่ยนแปลง ผู้ถือกรรมสิทธิ์ ใน ขั้นตอน สุดท้าย เมื่อ จำเลย ที่ 1 ได้ พบ ข้อ พิรุธ ใน เรื่อง ความ สามารถ และ ใน เรื่อง อายุ ของ ผู้ขาย ก่อน แล้ว อย่างเห็น ได้ชัดซึ่ง สามารถ นำ ฉบับ ที่ ราชการ รับรอง ถูกต้อง มา ตรวจสอบ ดู ได้ นอกจาก นี้ เมื่อ พบ ข้อ พิรุธ ตั้งแต่ เบื้องต้น การ ตรวจสอบ เอกสาร ย่อมจะ ต้อง ตรวจสอบ ให้ ละเอียด รอบคอบ ยิ่งขึ้น หาก จำเลย ที่ 1 ใช้ความ ระมัดระวัง และ พินิจ พิเคราะห์ ให้ ละเอียด รอบคอบ ตาม อำนาจ หน้าที่ก็ สามารถ ตรวจ พบ ว่า โฉนด ที่ดิน ฉบับ เจ้าของ ที่ดิน ดังกล่าว มิใช่ เอกสาร ที่ ถูก ต้อง แท้ จริง ดังนี้ การ กระทำ ของ จำเลย ที่ 1 เป็น การ ปฏิบัติ หน้าที่ ด้วยความ ประมาท เลินเล่อ เป็น เหตุท ให้ โจทก์ ได้ รับ ความ เสียหาย ซึ่ง เป็น ผลโดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของ จำเลย ที่ 1 การ ที่ โจทก์ ไม่ ตรวจ สอบ กับ โฉนด ที่ แท้ จริง เสีย ก่อน นั้น เมื่อปรากฏ ว่า มี การ เสนอ ขาย ที่ดิน พิพาท โจทก์ พอใจ แต่ ไม่เชื่อ ใจ ในความ ถูกต้อง จึง ไม่ ทำ สัญญา วาง มัด จำ ไว้ ก่อน แต่ ตกลง นัดทำ การ โอนที เดียว อัน เป็น การ เชื่อมั่น ต่อ การ ตรวจสอบ ของ เจ้าพนักงาน จึง มิใช่ โจทก์มี ส่วน เป็น ความประมาท เลินเล่อ ที่ ไม่ ทำการ ตรวจสอบ โฉนด ที่ดิน ที่แท้ จริงเสีย ก่อน เพราะ ต้อง มี การ ตรวจสอบ โดย เจ้าพนังาน อยู่ แล้ว จำเลย ที่ 1 ผู้ทำละเมิด จะ ปฏิเสธ ความ รับผิด ใน เหตุ ดังกล่าว หาได้ไม่ เมื่อ ความ เสีย หาย เป็น ผล โดย ตรง จาก การ กระทำ ละเมิด ของจำเลย ที่ 1 จำเลย ที่ 1 เจ้าหน้าที่ ของ จำเลย ที่ 2 ตาม หน้าที่ โดย โจทก์ ไม่มีส่วน ต้อง รับผิด ด้วย จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง ร่วม รับ ผิด กับ จำเลยที่ 1 ด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2540

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177, 249 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 26

ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยซึ่งเป็นวัดวา อา รามไม่มีสิทธิมีที่ดินเกินกว่า 50 ไร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี แม้จะมีผู้ทำพินัยกรรมยกให้จำเลยก็ไม่มีสิทธิรับจึงไม่มีสิทธิใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้นเมื่อเป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ในที่ดินพิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินพิพาท เป็นของจำเลย โดย จ.เจ้าของเดิมทำพินัยกรรมยกให้ และจำเลยได้ให้พ.บุตรโจทก์เช่า โจทก์ทั้งสองอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิการเช่าของพ.ดังนี้กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยต่างโต้แย้งกันว่าใครมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน และเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมิได้อ้างสิทธิหรือหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษขึ้นเป็นข้อต่อสู้หรือเป็นสภาพแห่งข้อหาในฟ้องแย้งดังนั้นจำเลยจึงไม่จำต้องบรรยายสาระสำคัญของการบอกเลิกการเช่าในบทกฎหมายดังกล่าวมาในฟ้องแย้ง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม

« »
ติดต่อเราทาง LINE