คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1342
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ2เมตรจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1342วรรคหนึ่งโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา1342ดังกล่าวและขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225
จำเลยที่2ไม่จำเป็นต้องลอกคำฟ้องคำให้การและทางพิจารณามาในอุทธรณ์ซ้ำอีกแต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225บัญญัติไว้ว่าข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่2บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่1และที่2ว่าร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวน110,622บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จจำเลยที่2ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาไว้โดยชัดแจ้งเลยว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยคดีนี้อย่างไรคงโต้แย้งแต่คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในข้อที่จำเลยที่2ไม่เห็นพ้องด้วยเท่านั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่2จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 420 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ม. 41
จำเลยที่1ใช้คำว่าเคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่1เมื่อชื่อของจำเลยที่1ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่1และจำเลยที่2ให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่2เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่1ดังนั้นเมื่อจำเลยที่2มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่าเคอนิก(KOENIGX) เป็นชื่อของจำเลยที่1โดยชอบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 86, 88, 142
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่นได้จากหลักฐานพยานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ หรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดงเป็นต้น ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า และสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าจริง แต่ต่อสู้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องนำสืบถึงเอกสารสัญญาเช่า เพราะจำเลยมิได้โต้เถียงว่าสัญญาเช่านั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาเพื่อวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ตามมาตรา 142 (5) ได้
จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะพิเคราะห์ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยเกี่ยวกับประเด็นหรือไม่ เป็นการประวิงคดีให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปอย่างชักช้าหรือไม่ ตามมาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6383/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1312
เมื่อจำเลยทั้งสามไม่พบหลักเขตที่ดินด้านที่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองก่อนหรือขณะทำการก่อสร้างอาคาร จำเลยทั้งสามก็ไม่เคยยื่นคำขอรังวัดสอบเขตที่ดินหรือแจ้งแก่เจ้าของที่ดินข้างเคียงให้ไประวังแนวเขตที่ดิน การที่จำเลยทั้งสามปลูกสร้างอาคารถาวรลงในที่ดินของตนรุกล้ำที่ดินของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและถือว่าไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 208
โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1โดยปิดหมายเมื่อวันที่7มิถุนายน2537ซึ่งจำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่7กรกฎาคม2537แม้ทนายจำเลยที่1จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่1กรกฎาคม2537ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก6วันที่จำเลยที่1สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่งกรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้ด้วยกรณีของจำเลยที่1จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่1ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่7กรกฎาคม2537การที่จำเลยที่1ยื่นคำขอในวันที่15กรกฎาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2539
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 1375, 26, 183, 226, 249
เดิมศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ 2 ข้อ ต่อมาได้กำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มว่า โจทก์ฟ้องเรียกคืนการครอบครองที่ดินพิพาทเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยครอบครองหรือไม่ โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่าคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ขอให้เพิกถอนประเด็นที่กำหนดเพิ่ม ถือว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่กำหนดประเด็นพิพาทเพิ่มแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งคำร้อง ว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงประเด็นพิพาทซึ่งกำหนดไว้แล้ว ให้ยกคำร้องโจทก์ก็ไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งในตอนหลังนี้อีก โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากผู้อื่นแม้จะต่อสู้ด้วยว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ก็ไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทในเรื่องนี้จึงไม่ชอบ และแม้ศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2539
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 15, 26, 28
หลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ แขวงสวนหลวง แขวงประเวศ เขตพระโขนง และแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองประเวศ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ประกาศใช้บังคับแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 28 วรรคแรก แต่กลับมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมาตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิที่ควรจะได้ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 15 ซึ่งมาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นใช้บังคับ จึงต้องถือว่าวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าวคือวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 นั่นเอง ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากฯ พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2532เมื่อนับถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2535 ที่โจทก์ขอมา จึงเกินกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันดังกล่าวแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 369, 537, 569
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยระบุว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าต่อระยะเวลาการเช่าไปอีกหลังจากที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วเป็นเพียงข้อตกลงต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าซึ่งเป็นบุคคลสิทธิไม่ใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะได้เช่าต่อไปคงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือผู้ให้เช่าห้องพิพาทเดิมกับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์วิ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทซึ่งมิได้ตกลงกับจำเลยในข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีกเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทต่อไปจำเลยก็ต้องออกไปจากห้องพิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6477/2539
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 341, 344 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 40
ครั้งแรกจำเลยขอเลื่อนการสืบพยานจำเลยอ้างว่าพยานไปงานแต่งงานญาติที่จังหวัดนครปฐมศาลสั่งให้เลื่อนคดีไปแต่ในการนัดสืบพยานนัดต่อมาจำเลยขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สองอ้างว่าพยานไปโอนที่ดินที่จังหวัดนครนายกศาลชั้นต้นก็ได้พิจารณาผ่อนผันอนุญาตให้เลื่อนคดีไปในการพิจารณาคดีต่อมาจำเลยกลับขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่สามอ้างว่าพยานป่วยโดยมิได้อ้างเหตุผลว่าป่วยจนถึงกับไม่สามารถมาศาลได้อย่างไรอันเป็นเหตุผลตามกฎหมายในข้อที่ว่าไม่อาจก้าวล่วงเสียได้อย่างไรนอกจากนี้จำเลยไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไรตามนัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา40วรรคหนึ่งเมื่อพิจารณาถึงข้อที่จำเลยไม่อ้างเหตุขอเลื่อนคดีให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวประกอบกับคำแถลงของทนายจำเลยในนัดที่ขอเลื่อนคดีครั้งที่สองว่าหากจำเลยไม่นำพยานมาศาลในการพิจารณานัดต่อไปถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานด้วยแล้วจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีต่อไปได้ จำเลยอ้างว่าโจทก์ค้างชำระค่าจอดรถเดือนละ5,000บาทปรากฎว่าโจทก์เคยเจรจากับจำเลยแล้วว่าจะไม่จ่ายค่าเช่าส่วนนี้เพราะเป็นเรื่องการแลกเปลี่ยนที่จำเลยไม่ให้โจทก์ใช้ถนนหน้าโกดังเป็นข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าหนี้ที่จำเลยอ้างดังกล่าวโจทก์ได้โต้แย้งและไม่ยอมรับสิทธิเรียกร้องที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้อยู่เป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนจำเลยจะนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับเงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยมิได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา344