คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1474 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 144, 177 วรรคสอง

คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่าจำเลยเป็นบุตรคนเดียวของห.มีสิทธิรับมรดกคือทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียวประเด็นจึงมีว่าจำเลยเป็นบุตรของห.แต่เพียงคนเดียวและมีสิทธิรับมรดกแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ที่ห.และมารดาโจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันจึงเป็นสินสมรสประเด็นจึงมีว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมหรือไม่ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกันไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ โจทก์ฟ้องว่าทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างห. และมารดาโจทก์เมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่กรรมทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งของมารดาโจทก์ย่อมตกเป็นมรดกแก่โจทก์และห. คนละส่วนต่อมาห. ได้ยกทรัพย์มรดกส่วนที่ตกได้แก่ห. ให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงถือว่าจำเลยรับตามข้อกล่าวอ้างโจทก์จึงมีสิทธิในทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1381, 1382

ฝ่ายจำเลยเคยขอไถ่ถอนการขายฝากก่อนครบกำหนด แต่โจทก์ ไม่ยอมให้ไถ่เป็นกรณีโจทก์ผิดสัญญา ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยจะเอาที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยเองแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5944/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 145

ผู้ร้องกับผู้คัดค้านเคยพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทจนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของผู้คัดค้านคำพิพากษาย่อมผูกพันทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งมีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่เด็ดขาด คู่ความจะกล่าวอ้างหรือนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นและศาลจะวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่แตกต่างไปจากเดิมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5901/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 18, 20, 56 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 15, 67

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา15วรรคหนึ่งซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา67ให้ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเพียงสถานเดียวโดยไม่ลงโทษปรับและรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา17มาตรา20และมาตรา56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 208 วรรคสอง

คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่1และที่3ระบุว่าจำเลยที่1และที่3ได้ชำระค่าเช่าซื้อและค่าเสียหายให้แก่โจทก์ไปบางส่วนแล้วหากจำเลยที่1และที่3มีโอกาสต่อสู้คดีแล้วย่อมทำให้ผลของคำพิพากษาคดีเปลี่ยนแปลงไปเพราะจำเลยที่1และที่3มิได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องอีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเกินความจริงเมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ไม่เต็มตามฟ้องข้ออ้างของจำเลยที่1และที่3ที่ว่าหากจำเลยที่1และที่3มีโอกาสต่อสู้คดีแล้วย่อมทำให้ผลของคำพิพากษาคดีเปลี่ยนแปลงไปเพราะจำเลยที่1และที่3มิได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจึงเป็นเพียงข้อโต้เถียงว่าฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องแต่ไม่ได้แสดงเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องในส่วนใดอย่างไรดังนั้นคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่1และที่3ถือไม่ได้ว่าได้แสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลโดยละเอียดชัดแจ้งจึงเป็นคำขอที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59 ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46กำหนดบทนิยามคำว่าการเลิกจ้างไว้เพื่อให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้นมิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นเจตนารมณ์ของกฎหมายในเรื่องนี้มีเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัวส่วนจะมีความผิดทางอาญาตามประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515หรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของจำเลยว่าได้กระทำไปโดยมีเจตนาไล่ผู้เสียหายออกจากงานและมีเจตนาไม่จ่ายค่าชดเชยแก่ผู้เสียหายในฐานะเป็นลูกจ้างหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9652/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 390, 391, 420

ก่อนทำสัญญาเช่านั้นจำเลยได้ก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จแล้วเพียงแต่ยังมิได้ตบแต่งเท่านั้นโจทก์ตกลงจะชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยเป็นเงิน1,000,000บาทโดยโจทก์จะจ่ายให้ในวันจดทะเบียนการเช่าแม้ตามสัญญาเช่าไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะไปจดทะเบียนการเช่าเมื่อใดแต่โจทก์กับจำเลยยอมรับกันว่าได้ตกลงกันจะไปจดทะเบียนการเช่าในวันที่5มกราคม2535ซึ่งในวันดังกล่าวโจทก์จะต้องชำระค่าเช่าล่วงหน้าอีก100,000บาทกับเงินช่วยค่าก่อสร้างจำนวน1,000,000บาทให้แก่จำเลยตามที่ตกลงไว้ในสัญญาเช่าแต่ปรากฏว่าในวันนัดจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวโจทก์ไม่ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่ค้างชำระอยู่100,000บาทและเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่จำเลยและจำเลยเองก็ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์ตามพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาเช่ากันอีกต่อไปทั้งหลังจากนั้นโจทก์และจำเลยต่างปล่อยปละละเลยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิจัดการอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับการเช่าและมิได้เรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาจนเวลาผ่านไปเนิ่นนานจนถึงวันที่11มิถุนายน2535โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญาเช่าขอบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้ากับค่าใช้จ่ายในการลงทุนให้แก่โจทก์กรณีเช่นนี้แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าทั้งสองฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้วสัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันกันต่อไปฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ดังนั้นโจทก์และจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391 สัญญาเช่าได้เลิกกันโดยปริยายและโจทก์กับจำเลยต้องคืนสู่ฐานะดังเดิมที่เป็นอยู่จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่เวลาที่รับไว้และจำเลยยังต้องใช้ค่าก่อสร้างตบแต่งซึ่งโจทก์ได้ใช้เงินไปในการงานนั้นแต่ค่าเสียหายอื่นๆนอกจากนี้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้เพราะจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9651

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9650 - 9651/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 193/30, 420 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 225 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31, 35, 58 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ม. ,

จำเลยที่1เป็นผู้อำนวยการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในขณะเดียวกันจำเลยที่1ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของโจทก์ด้วยและยังต้องปฏิบัติหน้าที่การงานภายใต้ระเบียบข้อบังคับของโจทก์ส่วนจำเลยที่2ที่3และที่4เป็นลูกจ้างโจทก์และได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการตรวจรับสินค้ามีหน้าที่ไปตรวจรับสินค้าว่ามีการซื้อขายตามจำนวนประเภทและราคาสินค้านั้นถูกต้องตรงตามสัญญาซื้อขายกันหรือไม่การที่จำเลยที่1มีคำสั่งให้คณะกรรมการตรวจรับที่โจทก์ตั้งขึ้นตรวจรับสินค้าตามหลักฐานเอกสารที่มีเพียงลายมือชื่อของผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าไปถูกต้องแล้วพิจารณาจ่ายเงินให้ผู้ขายสินค้าไปและวิธีปฏิบัติตามที่จำเลยที่1กำหนดขึ้นก็ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยการรับเงินการจ่ายเงินและการเก็บรักษาเงินพ.ศ.2528ของโจทก์เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จำเลยที่2ที่3และที่4เป็นคณะกรรมการตรวจรับไม่เคยไปตรวจรับสินค้าคงตรวจแต่เอกสารการรับมอบแม้จะเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่1จำเลยที่2ที่3และที4ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคำสั่งดังกล่าวขัดต่อข้อบังคับของโจทก์ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบแต่จำเลยที่2ที่3และที่4ยังปฏิบัติตามจึงเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่รักษาประโยชน์ของโจทก์เป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรงและต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย จำเลยที่2และที่3มิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับของโจทก์เมื่อมีการสอบสวนทางวินัยก็ปรากฏว่าจำเลยที่2และที่3กระทำผิดทางวินัยคำสั่งของโจทก์ให้พักงานจำเลยที่2และที่3จึงมิใช่เป็นการกลั่นแกล้งจำเลยที่2และที่3การที่โจทก์มีคำสั่งลงโทษจำเลยที่2ด้วยการพักงานและลดขั้นเงินเดือนจึงชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของโจทก์แล้ว จำเลยที่3ทำผิดวินัยโดยปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายการที่จำเลยที่3ต้องเกษียณอายุหรือถูกเลิกจ้างโดยมีความผิดโจทก์จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้จำเลยที่3 ฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงต้องบังคับใช้ตามอายุความทั่วไปมีกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30จำเลยที1ถึงที่4ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นการผิดสัญญาในระหว่างปี2532ถึง2533แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่6สิงหาคม2536ยังไม่เกิน10ปีฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยที่2ที่3และที่4อุทธรณ์ว่าจำเลยที่1ประนีประนอมยอมความหนี้กับโจทก์แล้วจำเลยที่2ที่3ที่4จึงไม่มีหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นเป็นอุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานวินิจฉัยมาว่าไม่มีการประนีประนอมยอมความในหนี้แต่อย่างใดต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อในคำให้การจำเลยที่1มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องที่อุทธรณ์ขึ้นมาอุทธรณ์ของจำเลยที่1จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2539

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 54 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งแสดงว่าจำเลยประสงค์จะถือเอาเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างหาได้ถือเอาเหตุอื่นด้วยไม่จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่ เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าศาลแรงงานกลางงดสืบพยานโดยมิได้สอบข้อเท็จจริงถือลักษณะงานว่าต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 46 วรรคท้ายแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหรือไม่ การงดสืบพยานดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาล จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10273

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260 - 10273/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 65 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 28, 55 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ม. 31, 54 วรรคหนึ่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 14) ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2536

จำเลยที่6เป็นเพียงกิจการร่วมค้าระหว่างจำเลยที่1และที่2และจำเลยที่6ได้จดทะเบียนในฐานะเป็นผู้ประกอบการต่อกรมสรรพากรเท่านั้นจำเลยที่6จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอันจะถูกฟ้องเป็นคดีนี้ได้ ศาลแรงงานวินิจฉัยจากพยานโจทก์ทั้งสิบสี่และจำเลยที่1และที่2แล้วฟังว่าจำเลยที่1และที่2เป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสิบสี่จำเลยที่1และที่2อุทธรณ์อ้างว่าการวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางขัดแย้งกับข้อความในสัญญาจ้างที่โจทก์ทั้งสิบสี่อ้างส่งศาลเป็นการไม่ชอบเป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานซึ่งเป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา54วรรคหนึ่ง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่16เมษายน2515ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่14)ลงวันที่16สิงหาคม2536ข้อ46กำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างและในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอนส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างโดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างที่เลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่ทำสัญญาจ้างไว้นั้นซึ่งมีงานอยู่3ประเภทแต่ในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่าซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีคำว่างานนั้นย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน2ปีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน2ปีดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่หากหมายถึงระยะเวลาการจ้างก็ต้องระบุไว้ในวรรคสามซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างการที่นำระยะเวลางานมากำหนดในวรรคสี่จึงทำให้เห็นได้ว่าหมายถึงระยะเวลาของงานทั้งสามประเภทนั่นเองเมื่องานที่จำเลยที่1และที่2ต้องกระทำการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันมีกำหนดระยะเวลาสามปีเกินกว่า2ปีแม้จะเป็นงานในโครงการเฉพาะหรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวจำเลยที่1และที่2ก็ไม่ได้รับยกเว้นการจ่ายค่าชดเชย คดีนี้ศาลแรงงานมีคำสั่งให้คดีทั้งสิบสี่สำนวนซึ่งมีโจทก์แต่ละคนเป็นโจทก์แต่ละสำนวนรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเมื่อรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าเป็นคดีเดียวกันแล้วข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณาจึงเป็นข้อเท็จจริงในสำนวนทั้งสิบสี่สำนวนศาลย่อมนำข้อเท็จจริงนั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมายเป็นคุณหรือโทษแก่คู่ความทั้งหมดในสำนวนได้โจทก์ทั้งสิบสี่เป็นคู่ความในสำนวนย่อมได้รับผลจากคำวินิจฉัยด้วยแม้โจทก์บางคนจะไม่ได้เข้าเบิกความก็ตามจึงชอบที่ศาลแรงงานพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์อื่นที่ไม่ได้เข้าเบิกความ

« »
ติดต่อเราทาง LINE