คำพิพากษาศาลฎีกา ปี 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 55 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 ม. 7, 8, 56, 57, 58

คชก.จังหวัดเป็นองค์กรฝ่ายปกครองซึ่งตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯมาตรา7และมีอำนาจหน้าที่ต่างๆตามที่กำหนดไว้ในมาตรา8และมาตรา57ซึ่งบัญญัติให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดจะต้องฟ้องเพื่อให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดเพราะตราบใดที่คำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังไม่ถูกเพิกถอนต้องถือว่าคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดยังมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและหากไม่ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวภายในกำหนดเวลาคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา57วรรคสองประกอบด้วยมาตรา56วรรคสองการฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคชก.จังหวัดจึงต้องฟ้องผู้ออกมติก็คือคชก.จังหวัดนั้นเองทั้งนี้เพื่อให้คชก.จังหวัดได้มีโอกาสเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนมตินอกจากนี้ตามมาตรา58วรรคสองกำหนดให้คชก.จังหวัดมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของคชก.จังหวัดได้ดังนั้นคชก.จังหวัดจึงเป็นองค์กรฝ่ายปกครองที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินคดีในศาลจึงอยู่ในฐานะที่ถูกฟ้องได้เมื่อโจทก์ไม่ฟ้องคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีจึงยังคงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายโจทก์จึงฟ้องเฉพาะจำเลยที่2ให้ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์อันแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัดสุพรรณบุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 271 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 14

เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์3คดีโจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ศาลในคดีนั้นๆพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าในคดีแรกโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดแต่ไม่สามารถขายได้เพราะทรัพย์ที่ถูกยึดสูญหายและจำเลยทั้งสามชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน1,500,000บาทภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาก็ตามก็เป็นขั้นตอนของการบังคับคดีเมื่อหนี้ตามคำพิพากษาแต่ละคดีที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลายโจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามโจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4253

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4253/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 296 วรรคสอง, 296 จัตวา

การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(3)มิได้เป็นวิธีการบังคับคดีที่เกี่ยวกับจำเลยจำเลยไม่อยู่ในฐานะผู้ต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีด้วยเหตุนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 90 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 14

พระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯมาตรา14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์เพียง84,568.29บาทและยังประกอบกิจการมีรายได้อีกทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกจำเลยที่1จึงอยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ดังนั้นลำพังแต่ทางนำสืบของโจทก์ซึ่งได้ความตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยที่1ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม2ครั้งและจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อสกุลย้ายที่อยู่โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงอื่นสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยที่1ว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดรูปคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวพระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้ศาลมีหน้าที่พิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่การที่จำเลยที่1เสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ปรากฎความจริงดังกล่าวแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนสืบพยานตามกฎหมายก็ไม่เป็นการตัดรอนศาลมิให้รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 173 วรรคสอง, 195, 208 (2), 225

จำเลยมีอายุไม่เกิน17ปีก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา208(2)ประกอบด้วยมาตรา225 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองที่ให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนายเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่แม้ข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1824/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 314, 369, 940 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 245 (1), 247

โจทก์และจำเลยที่1มีข้อตกลงกันว่าเมื่อโจทก์ชำระเงินไปตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือสัญญาทรัสต์ซีทแล้วให้นำไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ซึ่งตามรายการและจำนวนเงินที่หักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ได้ระบุเลขที่ของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินตรงกับที่โจทก์นำมาฟ้องทั้ง6ฉบับทั้งเอกสารที่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่1ทราบว่าได้หักบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ไปแล้วก็เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นจึงรับฟังได้ว่าโจทก์ได้นำหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซิทไปหักจากบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1แล้ว เมื่อหนี้ระงับไปแล้วแม้จำเลยที่3ที่4และที่7ถึงที่10จะมีหนังสือขอผ่อนผันชำระหนี้ก็หาทำให้ต้องรับผิดอีกไม่ แม้จำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10จะมิได้ฎีกาขึ้นมาแต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1,ที่2,ที่4,ที่7,ที่8,ที่9และที่10ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2539

ประมวลกฎหมายอาญา ม. 175, 177 วรรคสอง

โจทก์กับจำเลยที่1ยังโต้แย้งสิทธิในที่ดินพิพาทอยู่การที่จำเลยที่1เอาความอันรู้อยู่ว่าเป็นเท็จฟ้องโจทก์ต่อศาลว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาในความผิดฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าพยานยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์กระทำความผิดดังกล่าวแต่เมื่อปรากฏว่าในบริเวณที่ดินพิพาทที่จำเลยที่1อ้างว่าโจทก์นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันต้นยางพาราของจำเลยที่1ไม่มีต้นยางพาราพันธุ์จี.ที.ปลูกอยู่การที่จำเลยที่1นำความอันรู้อยู่ว่าเป็นเท็จมาฟ้องและเบิกความเท็จว่าโจทก์นำรถแทรกเตอร์เข้าไปไถดันต้นยางพาราพันธุ์จี.ที.ของจำเลยที่1เสียหาย57ต้นและจำเลยที่2เบิกความเท็จว่าต้นยางพาราบริเวณดังกล่าวจำเลยที่1ปลูกมาประมาณ2ถึง3ปีแล้วอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์โดยจำเลยที่1รู้อยู่ว่าข้อความตามฟ้องและที่จำเลยทั้งสองเบิกความเบิกความนั้นเป็นเท็จและความเท็จดังกล่าวเป็นข้อสำคัญในคดีจำเลยที่1จึงมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา175และ177วรรคสองจำเลยที่2มีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา177วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม. 192 ประมวลกฎหมายอาญา ม. 59, 291, 300

โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยเร่งความเร็วแซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายเป็นผู้ขับโดยมิได้ให้สัญญาณเตือนขณะนั้นมีรถยนต์ขับสวนมาจำเลยไม่สามารถขับรถยนต์แซงรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้พ้นจำเลยบังคับรถยนต์ของตนหลบรถยนต์ที่แล่นสวนทางมาเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่าผู้ตายจอดรถจักรยานยนต์อยู่ที่ริมถนนด้านซ้ายมือเพื่อจะข้ามถนนไปเติมน้ำมันข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธลอยๆจึงมิได้หลงต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2539

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 177 วรรคสอง, 183

การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์ขาดอายุความแม้จำเลยไม่จำต้องอ้างตัวบทกฎหมายว่าขาดอายุความตามบทมาตราใดก็ตามแต่จำเลยต้องให้การโดยแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฎว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเมื่อใดนับแต่วันใดถึงวันฟ้องคดีขาดอายุความไปแล้วเมื่อจำเลยมิได้กล่าวถึงเหตุแห่งการขาดอายุความให้ปรากฎคำให้การของจำเลยจึง ไม่มี ประเด็นในเรื่อง อายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1799 - 1800/2539

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 77, 820 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 5 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา5ให้คำนิยามของคำว่านายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2ว่านายจ้างหมายความว่าผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำการแทนในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลหมายความว่าผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลนั้นและหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้อำนวยการสำนักงานและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่1ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ทั้งสองด้วยตามบทกฎหมายดังกล่าวโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ได้แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์ทั้งสองมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่2เป็นผู้ทำการแทนตามกฎหมายประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา77บัญญัติว่า"ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพันระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคลภายนอกโดยอนุโลม"และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนมาตรา820บัญญัติว่า"ตัวการย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน"ซึ่งมีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำแทนตัวการจำเลยที่1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่2ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

« »
ติดต่อเราทาง LINE